กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12776
ชื่อเรื่อง: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย และปราสาทหินพิมาย : แนวทางใหม่ของการบริหารจัดการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Phimai national museum and prasat phimai: the new approach of cultural management
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรดี พันธุภากร
สันติ เล็กสุขุม
ทนงศักดิ์ หาญวงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ปราสาทหินพิมาย (นครราชสีมา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
Humanities and Social Sciences
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นเมืองพิมาย โดยมองผ่านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายปราสาทหินพิมายและเมืองพิมาย อีกทั้งยังศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการสื่อความหมายของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และ ปราสาทหินพิมายตามแนวทางบริหารจัดการแบบใหม่ คือ ศึกษาในส่วนการจัดแสดงใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายปรับปรุงแผ่นป้ายประจำโบราณสถาน เส้นทางท่องเที่ยวภายใน ปราสาทหินพิมาย และเมืองพิมาย ให้มีความเชื่อมโยงกันทั้งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และเส้นทาง การท่องเที่ยว ด้วยการสร้างเวทีความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยริเริ่มจัดแสดงแสงสี เสียง เรื่องพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และเรื่องพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในชื่อเรื่อง "กงรักพรหมทัต" ในงาน เทศกาลท่องเที่ยวเมืองพิมายประจำปี พ.ศ. 2556-2558 ผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้นพบว่า เมืองพิมาย เป็นเมืองโบราณสำคัญในระดับที่ครั้งหนึ่ง เคยเป็นเมืองหลวงที่ใช้ปกครองอาณาจักรเขมร ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ต้นราชวงศ์ มหิธรปุระ พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา โดยทรงสร้างปราสาทหินพิมายตั้งอยู่เป็น ศูนย์กลางเมืองเป็นปราสาทประจำรัชกาล และเป็นที่เคารพบูชาของชาวพุทธจนสิ้นรัชกาลของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่อได้นำเสนอเรื่องพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ชุมชนชาวพิมาย ให้รับรู้แพร่หลายยิ่งขึ้น ผลปรากฎว่าชุมชนมีความพึงพอใจที่ได้รับรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง ท้าวพรหมทัต ผ่านตำนานพื้นบ้านเรื่องปาจิต-อรพิมมากขึ้นทำให้เกิดความภาคภูมิใจใน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างชัดเจน และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกันส่งเสริมเผยแพร่ศิลปะและ วัฒนธรรมของชุมชน เพื่อให้เมืองพิมาย เป็นเมืองอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่อยู่ควบคู่กับวิถีชีวิต ต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12776
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf74.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น