กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12748
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจและลดความไม่พึงพอในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท ซีซีเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctor Effecting Motivtion nd Reduced Job Disstisfction of CCS Corportion Compny Limited’ s Workers |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บรรพต วิรุณราช โสภณ เรืองกิตติกุล มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | Humanities and Social Sciences ความพึงพอใจในการทำงาน ความพึงพอใจ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร แรงจูงใจ (จิตวิทยา) |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจและลดความไม่พึงพอใจ ในการปฏิบัติงาน เปรียบเทียบระดับของแรงจูงใจกับความพึงพอใจตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ศึกษาแรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร วิเคราะห์ ข้อมูลด้วย SPSS สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test รวมถึง หาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและความพึงพอใจ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 72 มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มากที่สุดร้อยละ 41 ระดับการศึกษาต่ำกว่า ม. 6 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58 มีสถานภาพ สมรสมากที่สุดร้อยละ 51 ส่วนมากมีอายุงานน้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 53 เป็นพนักงานชั่วคราวมาก ที่สุดร้อยละ 89 ระดับแรงจูงใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง พนักงานที่มีเพศต่างกัน สถานภาพสมรสต่างกัน อายุงานต่างกัน สถานะประเภท พนักงานต่างกัน มีระดับแรงจูงใจและความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ระดับแรงจูงใจกับความพึง พอใจมีความสัมพันธ์สอดคล้องไปในทางเดียวกันเชิงบวกในระดับปานกลาง จากผลการศึกษาพบว่า ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีระดับปานกลางต่ำกว่าทุกด้าน สาเหตุจากลักษณะธุรกิจเป็นงานรับเหมาก่อสร้าง พนักงานจึงมีความรู้สึกที่ไม่มั่นคง สอดคล้องกับ ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบิร์ก ที่กล่าวว่า ความมั่นคงก้าวหน้ในหน้ที่การงาน จะเป็นสิ่งจูงใจ ให้บุคลากรในองค์กรอยากทำงาน อีกทั้งยังพบว่าพนักงานที่มีเงินเดือนมากกว่า แต่มีระดับความพึง พอใจด้านนี้ต่ำกว่าพนักงานที่มีรายได้น้อยกว่า ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีของมาสโลว์ที่ว่า คนทุกคนมี ความต้องการซึ่งความต้องการนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่าง งานวิจัยนี้ยังพบว่าแรงจูงใจและความพึงพอใจมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก หมายถึง เมื่อความพึงพอใจเพิ่มขึ้นก็มีโอกาสช่วยลดความไม่พึงพอใจและจะไปเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน ได้ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบิร์ก ที่กล่าวว่า ปัจจัยที่ช่วยลดความไม่พึงพอใจในการทำงาน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นที่พนักงานจะต้องได้รับการสนองตอบ แต่ไม่ได้หมายความว่า ถ้าให้ปัจจัยเหล่านี้แล้วจะทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในการทำงาน แต่ก็มีโอกาสที่จะไปเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12748 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
56710134.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น