กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12646
ชื่อเรื่อง: ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บนฐานของปัจจัยเชิงปรากฎการณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The success of prticiptive dministrtion of Primry Schools under the Bsic Eduction Commission Bsed on phenomenon fctors
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภชน์ อเนกสุข
ภารดี อนันต์นาวี
เพ็ญจันทร์ เอี่ยวสานุรักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร -- การมีส่วนร่วมของครู
Humanities and Social Sciences
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม เปรียบเทียบความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริหาร บทบาทของชุมชน/ สังคม บรรยากาศองค์กร พฤติกรรมของครู และสภาพแวดล้อม วิเคราะห์จำแนกความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์ของความสำเร็จใน การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามระดับความสำเร็จในการบริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 930 คน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก จำนวน 310 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริหาร บทบาทชุมชน/ สังคม บรรยากาศองค์กร พฤติกรรมของครู สภาพแวดล้อม และความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูง จำนวน 3 โรงเรียน และโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ จำนวน 3 โรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุและวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริหาร บทบาทชุมชน/ สังคม บรรยากาศองค์กร พฤติกรรมของครู และสภาพแวดล้อม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ปัจจัยด้านบทบาทชุมชน/ สังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูงกับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ พบว่า ปัจจัยทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ปัจจัยที่มีค่าสัมประสิทธิ์สูงที่สุด คือ ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริหาร (X1) รองลงมา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม (X5) ด้านบทบาทชุมชน/ สังคม (X2) ด้านบรรยากาศองค์กร (X3) และด้านพฤติกรรมของครู (X4) ตามลำดับ โดยมีสมการ ดังนี้ 3.1 สมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบ D = 2.886 (X1) + .811 (X2) - .083 (X3) - .553 (X4) + .836 (X5) - 16.668 3.2 สมการทำนายการเข้ากลุ่มในรูปคะแนนดิบ 3.2.1 โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูง Dสูง = 55.062 (X1) + 0.988 (X2) + 3.625 (X3) + 2.133 (X4) + 8.341 (X5) - 155.807 3.2.2 โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ Dต่ำ = 48.480 (X1) - 0.862 (X2) + 3.813 (X3) + 3.393 (X4) + 6.435 (X5) - 120.742 สมการสามารถทำนายการเข้ากลุ่มของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูงได้ถูกต้อง ร้อยละ 98.4 สามารถทำนายการเข้ากลุ่มของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำได้ถูกต้องร้อยละ 69.4 และสามารถทำนายการเข้ากลุ่มในภาพรวมได้ถูกต้องร้อยละ 92.58 4. ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บนฐานของปัจจัยเชิงปรากฏการณ์ พบว่า โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูงกับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ มีวิธีดำเนินการให้ประสบความสำเร็จที่สอดคล้องกันและสอดคล้องกันเป็นบางส่วนหรือไม่สอดคล้องกัน โดยเรียงลำดับปัจจัยที่มีความสอดคล้องกันมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ 1) ปัจจัยพฤติกรรมของผู้บริหาร ด้านพฤติกรรมการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการสร้างแรงบันดาล การกระตุ้นการใช้ปัญญา การมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายบุคคล และด้านพฤติกรรมผู้นำแบบแลกเปลี่ยนในเรื่อง การให้รางวัลตามสถานการณ์ การบริหารแบบวางเฉย 2) ปัจจัยพฤติกรรมของครูในด้านพฤติกรรมการสอนของครู 3) ปัจจัยบรรยากาศองค์กรในด้านพฤติกรรมแตกแยก 4) ปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ และด้านเทคโนโลยี และ 5) ปัจจัยบทบาทของชุมชน/ สังคมในด้านการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12646
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น