กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12646
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.advisorภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.authorเพ็ญจันทร์ เอี่ยวสานุรักษ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2024-01-25T08:46:50Z
dc.date.available2024-01-25T08:46:50Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12646
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม เปรียบเทียบความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริหาร บทบาทของชุมชน/ สังคม บรรยากาศองค์กร พฤติกรรมของครู และสภาพแวดล้อม วิเคราะห์จำแนกความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์ของความสำเร็จใน การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามระดับความสำเร็จในการบริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 930 คน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก จำนวน 310 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริหาร บทบาทชุมชน/ สังคม บรรยากาศองค์กร พฤติกรรมของครู สภาพแวดล้อม และความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูง จำนวน 3 โรงเรียน และโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ จำนวน 3 โรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุและวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริหาร บทบาทชุมชน/ สังคม บรรยากาศองค์กร พฤติกรรมของครู และสภาพแวดล้อม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ปัจจัยด้านบทบาทชุมชน/ สังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูงกับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ พบว่า ปัจจัยทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ปัจจัยที่มีค่าสัมประสิทธิ์สูงที่สุด คือ ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริหาร (X1) รองลงมา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม (X5) ด้านบทบาทชุมชน/ สังคม (X2) ด้านบรรยากาศองค์กร (X3) และด้านพฤติกรรมของครู (X4) ตามลำดับ โดยมีสมการ ดังนี้ 3.1 สมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบ D = 2.886 (X1) + .811 (X2) - .083 (X3) - .553 (X4) + .836 (X5) - 16.668 3.2 สมการทำนายการเข้ากลุ่มในรูปคะแนนดิบ 3.2.1 โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูง Dสูง = 55.062 (X1) + 0.988 (X2) + 3.625 (X3) + 2.133 (X4) + 8.341 (X5) - 155.807 3.2.2 โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ Dต่ำ = 48.480 (X1) - 0.862 (X2) + 3.813 (X3) + 3.393 (X4) + 6.435 (X5) - 120.742 สมการสามารถทำนายการเข้ากลุ่มของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูงได้ถูกต้อง ร้อยละ 98.4 สามารถทำนายการเข้ากลุ่มของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำได้ถูกต้องร้อยละ 69.4 และสามารถทำนายการเข้ากลุ่มในภาพรวมได้ถูกต้องร้อยละ 92.58 4. ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บนฐานของปัจจัยเชิงปรากฏการณ์ พบว่า โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูงกับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ มีวิธีดำเนินการให้ประสบความสำเร็จที่สอดคล้องกันและสอดคล้องกันเป็นบางส่วนหรือไม่สอดคล้องกัน โดยเรียงลำดับปัจจัยที่มีความสอดคล้องกันมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ 1) ปัจจัยพฤติกรรมของผู้บริหาร ด้านพฤติกรรมการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการสร้างแรงบันดาล การกระตุ้นการใช้ปัญญา การมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายบุคคล และด้านพฤติกรรมผู้นำแบบแลกเปลี่ยนในเรื่อง การให้รางวัลตามสถานการณ์ การบริหารแบบวางเฉย 2) ปัจจัยพฤติกรรมของครูในด้านพฤติกรรมการสอนของครู 3) ปัจจัยบรรยากาศองค์กรในด้านพฤติกรรมแตกแยก 4) ปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ และด้านเทคโนโลยี และ 5) ปัจจัยบทบาทของชุมชน/ สังคมในด้านการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร -- การมีส่วนร่วมของครู
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.titleความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บนฐานของปัจจัยเชิงปรากฎการณ์
dc.title.alternativeThe success of prticiptive dministrtion of Primry Schools under the Bsic Eduction Commission Bsed on phenomenon fctors
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis mixed methods research aimed to study the success of participative administration, to compare the success of participative administration factors according to administrator behaviors, role of community/ social, organizational climate, teacher behaviors and environment analyzing the success of participative administration, the phenomenon factors of the success of participative administration of primary schools under the Basic Education Commission. The samples were 930 school administrators, teachers, and the school boards of 310 primary schools under the Basic Education Commission in the eastern region of Thailand.. The research instrument was a 5 rating-scale questionnaires; on administrator behaviors, role of community/ social, organizational climate, teacher behaviors, environment and the success of participative administration of primary schools. The structured interviews was used to collect the qualitative data from administrators, teachers and the school boards of 3 high success schools and 3 low success schools in participative administration. The statistical used to analyze the quantitative data were average, standard deviation, multivariate analysis of variance, discriminant analysis and content analysis. The research results were as follows: 1. The success of participative administration of primary schools under the Basic Education Commission by factors of administrator behaviors, role of community/ social, organizational climate, teacher behaviors and environment; as a whole and by dimension were rated at high level. 2. The comparison of the success of participative administration of primary schools under the Basic Education Commission showed that the role of community/ and the role of society was in statistically significance different at .05 level. Other factors were found no significance different. 3. The success of participative administration of schools under the Basic Education Commission classified by the high success group and the low success group showed all factors were different significance at .01 level. The discriminate analysis showed the coefficient of the factors from highest to lowest which were administrator behaviors (x1), environment (x5), role of community/ social (x2), organizational climate (x3) and teacher behaviors (x4) . The equation were: 3.1 The raw score equation for discriminant function was: D = 2.886 (x1) + .881 (x2) - .083 (x3) - .553 (x4) + .836 (x5) - 16.668 3.2 The raw scores classification function were: The high successful schools Dhigh = 55.062 (x1) + 0.988 (x2) + 3.625 (x3) + 2.133 (x4) + 8.341 (x5) - 155.807 The low successful schools Dlow = 48.480 (x1) - 0.862 (x2) + 3.813 (x3) + 3.393 (x4) + 6.435 (x5) - 120.742 The Dhigh and Dlow classification functions predicted the schools to groups correctly with 98.40 and 69.40 percentage ordered, and overall accuracy was 92.58 percentage. 4. The success of participative administration of schools under the Basic Education Commission based on phenomenon factors were that the high successful schools and the low successful schools had a method of operation that were consistent success, partially success and non-successful ranging from high to low factors as follows: 1) administrator behaviors in transactional leadership of inspiration, intellectual stimulation, individualized consideration and transactional leadership in contingent reward and management by exception 2) teacher behaviors in teaching 3) organizational climate in disengaged behavior 4) environmental both social and cultural, economic and technology, and 5) role of community/ society in participating as the school board.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น