กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12644
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The multilevel cusl fctors ffecting on Prthomsueks 6 students’ Mthemtics chievement
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีพร อนุศาสนนันท์
ไพรัตน์ วงษ์นาม
ภัทรนันท์ คำมี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
Humanities and Social Sciences
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และเพื่อสร้างและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จำนวน 1,110 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 4 ฉบับ แบ่งออกเป็น แบบทดสอบจำนวน 2 ฉบับ และแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน และแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระดับนักเรียน และระดับห้องเรียน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือแต่ละฉบับ พบว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-0.70 มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.22-0.84 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .697 และ .820 ส่วนแบบสอบถามแต่ละฉบับ มีค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) อยู่ระหว่าง 0.235-0.723 และมีค่าความเที่ยง(Reliability) อยู่ระหว่าง .823-.938 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายเพื่อศึกษาและอธิบายข้อมูลพื้นฐานของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้สถิติเบื้องต้น ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าความเบ้ (Skewness) และค่าความโด่ง (Kurtosis) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis: CFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงสาเหตุแบบพหุระดับ (Multilevel structural equation modeling: MSEM) โดยใช้โปรแกรม Mplus version 7.4" ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันพหุระดับ พบว่า โมเดลการวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดัชนีที่ใช้ในการตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ค่า = 26.814, =9, p = .0015, / = 2.979, RMSEA = .042, CFI = .984, TLI = .964, SRMR = .015, SRMR = .020 เป็นไปตามเกณฑ์ 2. โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 ผลจากการปรับโมเดลทำให้โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า = 358.582, =167, p = .0000, / = 2.147, RMSEA = .032, CFI = .992, TLI = .990, SRMR = .013, SRMR = .119 โดยแบ่งระดับการทำนายดังนี้ 2.1 ตัวแปรที่ใช้ทำนายระดับนักเรียน มีทั้งหมด 5 ตัวแปร ได้แก่ ความถนัดทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มโนภาพเกี่ยวกับตนเอง เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และความตั้งใจเรียน มีอิทธิพลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ตัวแปรที่ใช้ทำนายระดับห้องเรียน มี 2 ตัวแปร ได้แก่ คุณภาพการสอนของ ครู และบรรยากาศในชั้นเรียน มีอิทธิพลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12644
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น