กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12644
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisorไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.authorภัทรนันท์ คำมี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2024-01-25T08:46:49Z
dc.date.available2024-01-25T08:46:49Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12644
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และเพื่อสร้างและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จำนวน 1,110 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 4 ฉบับ แบ่งออกเป็น แบบทดสอบจำนวน 2 ฉบับ และแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน และแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระดับนักเรียน และระดับห้องเรียน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือแต่ละฉบับ พบว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-0.70 มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.22-0.84 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .697 และ .820 ส่วนแบบสอบถามแต่ละฉบับ มีค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) อยู่ระหว่าง 0.235-0.723 และมีค่าความเที่ยง(Reliability) อยู่ระหว่าง .823-.938 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายเพื่อศึกษาและอธิบายข้อมูลพื้นฐานของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้สถิติเบื้องต้น ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าความเบ้ (Skewness) และค่าความโด่ง (Kurtosis) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis: CFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงสาเหตุแบบพหุระดับ (Multilevel structural equation modeling: MSEM) โดยใช้โปรแกรม Mplus version 7.4" ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันพหุระดับ พบว่า โมเดลการวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดัชนีที่ใช้ในการตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ค่า = 26.814, =9, p = .0015, / = 2.979, RMSEA = .042, CFI = .984, TLI = .964, SRMR = .015, SRMR = .020 เป็นไปตามเกณฑ์ 2. โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 ผลจากการปรับโมเดลทำให้โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า = 358.582, =167, p = .0000, / = 2.147, RMSEA = .032, CFI = .992, TLI = .990, SRMR = .013, SRMR = .119 โดยแบ่งระดับการทำนายดังนี้ 2.1 ตัวแปรที่ใช้ทำนายระดับนักเรียน มีทั้งหมด 5 ตัวแปร ได้แก่ ความถนัดทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มโนภาพเกี่ยวกับตนเอง เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และความตั้งใจเรียน มีอิทธิพลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ตัวแปรที่ใช้ทำนายระดับห้องเรียน มี 2 ตัวแปร ได้แก่ คุณภาพการสอนของ ครู และบรรยากาศในชั้นเรียน มีอิทธิพลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.titleปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
dc.title.alternativeThe multilevel cusl fctors ffecting on Prthomsueks 6 students’ Mthemtics chievement
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the causal model of mathematics achievement, and examine the validity of the model of factors influencing mathematics achievement of prathomsuksa 6 students in the secondary educational service area chonburi office 2. The research samples were 1,110 prathomsuksa 6 students, selected by stratified random sampling technique. The instruments used in this study were : mathematics learning achievement test, the test of intelligence quotient, the factors influencing mathematics achievement. The discriminatory power and reliability by cronbach's alpha coefficient were applied for validating the instruments quality. Data were analyzed using descriptive statistics to explain the basis of the parameters used in the research, along with arithmetic mean, standard deviation (SD) values of skewness and the kurtosis and confirmatory factor analysis and analysis equation model (Multilevel structural equation modeling: MSEM) using Mplus version 7.4. Research findings 1.The measurement model of variable in multi-level structural equation model affecting prathomsueksa 6 students’ mathematics achievement was consistent with the empirical data with = 26.814, =9, p = .0015, / = 2.979, RMSEA = .042, CFI = .984, TLI = .964, SRMR = .015, SRMR = .020 , meeting the criteria. 2. The multilevel structural equation model that affect prathomsueksa 6 students’ mathematics achievement was consistent with empirical data with = 358.582, =167, p = .0000, / = 2.147, RMSEA = .032, CFI = .992, TLI = .990, SRMR = .013, SRMR = .119. Levels of prediction can be presented as follows. 2.1 Variables those can predict student level were; Scholastic aptitude, achievement motivation, Conception about themselves, Attitude toward mathematics and learning intention having influence on prathomsueksa 6 students’ mathematics achievement at statistical significance of .05. 2.2 Variables used to predict dependent variables at class level it was found that; Teaching quality of teachers and classroom climate have influence on prathomsueksa 6 students’ mathematics achievement at statistical significance of .05.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น