กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10037
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบทางจิตใจของหญิงที่มีอาชีพขายบริการทางเพศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Psychologicl distress mong femle sex workers: n interprettive phenomenologicl study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล
ปรารถนา ฟูลทั่น
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การค้าประเวณี
โสเภณี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้นำเสนอเกี่ยวกับการรับรู้และวิธีการจัดการผลกระทบทางจิตใจของผู้หญิงที่มีอาชีพขายบริการทางเพศที่ได้มาจากการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวทางการวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์ วิทยาแบบตีความ (IPA) ข้อมูลวิจัยได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างกับผู้หญิงที่มีอาชีพขายบริการทางเพศ จํานวน 4 คน ผลของงานวิจัยนําเสนอสามใจความสําคัญหลัก ซึ่งประกอบด้วย ใจความสําคัญหลักที่ 1 “การประกอบอาชีพขายบริการทางเพศเป็นทางออก” ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ใจความสําคัญย่อย คือ 1) ความรู้สึกสิ้นหวังกับปัญหาชีวิต 2) ความหวังที่จะมีชีวิตที่ดี และ 3) อิทธิพลของเครือข่ายทางสังคมต่อมา คือ ใจความสําคัญหลักที่ 2 การประกอบอาชีพขายบริการทางเพศเป็น “นรกบนดิน” ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ใจความสําคัญย่อย คือ 1) การประกอบอาชีพขายบริการทางเพศเป็นเรื่องจําใจ 2) อาชีพขายบริการทางเพศมีความเสี่ยงสูง 3) อาชีพขายบริการทางเพศยังไม่ได้รับการยอมรับ และ 4) การประกอบอาชีพขายบริการทางเพศทําลาย “ค่าความเป็นคน” และใจความสําคัญหลักสุดท้ายหลักที่ 3 คือ “การประกอบอาชีพขายบริการทางเพศเป็นความทุกข์ที่ (ไม่) สามารถเยียวยา” ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ใจความสําคัญย่อย คือ 1) แอลกอฮอล์ คือ ตัวช่วยสําคัญ 2) ความหวังที่จะเติมเต็มความหวังคือแรงผลักดันสําคัญ และ 3) การเลิกอาชีพขายบริการทางเพศคือทางออกของความทุกข์ จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงกลุ่มนี้จําเป็นจะต้องได้รับความใส่ใจเป็นพิเศษและบริการให้ความช่วยเหลือทางด้านจิตใจทั้งจากภาครัฐ และเอกชนจะต้องสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงสําหรับผู้หญิงในกลุ่มอาชีพนี้ การให้เกียรติและการไม่ตีตราตัดสินเป็นหัวใจสําคัญในการทํางานทางด้านจิตใจกับผู้หญิงกลุ่มนี้รวมถึงการเอื้อให้ผู้หญิงกลุ่มนี้ตระหนักถึงศักยภาพด้านบวกของตนเองและเห็นทางเลือกในชีวิต ซึ่งอาจช่วยให้ผู้หญิงกลุ่มนี้สามารถก้าวเข้าสู่อาชีพใหม่ที่ทําให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10037
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920541.pdf1.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น