กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10022
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสถาพร พฤฑฒิกุล
dc.contributor.advisorประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.authorปาริฉัตร เอี้ยงสูง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:43:57Z
dc.date.available2023-09-18T07:43:57Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10022
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองใหญ่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จําแนกตามเพศ และขนาดโรงเรียน จากกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอนในโรงเรียน สหวิทยาเขตหนองใหญ่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ปี การศึกษา 2563 จํานวน 118 คน จากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ จํานวน 63 ข้อ แบบสอบถามมีค่าอํานาจจําแนก .81 ถึง .95 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .99 การวิเคราะห์ ข้อมูลผู้วิจัยดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าความถี่ (F) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการของ LSD (Least significant difference) การวิเคราะห์การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองใหญ่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลําดับการบริหารงานวิชาการ ตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลําดับ ได้แก่ ด้านการวัดผล ประเมินผล และดําเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการจัดและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการนิเทศการศึกษา ตามลําดับ 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสหวิทยาเขตหนองใหญ่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จําแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม และรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 3. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสหวิทยาเขตหนองใหญ่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จําแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการนิเทศการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองใหญ่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ครูโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองใหญ่ ได้ให้แนวทางการบริหารงานวิชาการ ปรากฏผลดังนี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เสนอให้ครูเข้ามามีส่วนร่วม ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มากขึ้น ด้านการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ เสนอให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน เสนอให้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ครูได้พัฒนาความรู้ เกี่ยวกับวิธี และขั้นตอนการวัดประเมินผล การสร้างเครื่องมือในการวัดผล อย่างหลากหลายด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เสนอให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี เสนอให้จัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์ความจําเป็นในการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา เสนอให้ส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วม ในการวางแผนการนิเทศงานวิชาการของโรงเรียน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการศึกษา -- การบริหาร (ประถมศึกษา)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร -- ไทย -- ชลบุรี
dc.titleปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสหวิทยาเขตหนองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
dc.title.alternativeProblems nd development guidelines of cdemic dministrtive in primry schools under chonburi primry eductionl servicere office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study problems and develop guidelines for academic administration at primary schools under Chonburi Primary Education Service Area1, classified by school size and teacher gender. The sample of the study consisted of 118 teachers in primary School under Chonburi Primary Education Service Area1, the academic year 2020. A research tool was 63-item, 5-level rating scale questionnaire with the discrimination power between .81-.95, and the reliability was at .99 . The data were analyzed by Mean ( ), Standard Deviation (SD), t-test, one-way ANOVA, and Multiple comparison test (Scheffe's method) The findings were as follows: 1. The problems of academic administration in primary schools under Chonburi Primary Education Service Area1, as a whole and each aspect, were at a moderate level. 2. On the comparison of academic administration of problems of academic administration at primary schools under Chonburi Primary Education Service Area1, classified by school size, as a whole and each aspect, it revealed statistically significant difference at .05 level. 3. On the comparison of academic administration of problems of academic administration at primary schools under Chonburi Primary Education Service Area1, classified by teacher gender, as a whole and each aspect, it was found no significant differences. Except in the aspects of educational supervision, where statistically significant differences was found at 05.level. 4. Concerning suggestions for the development of the management of academic administration, there were 6 aspects suggested: Curriculum development aspect, it was suggested that teacher jointly plan to develop more educational programs. Development of learning process aspect, it was suggested to organize training for teacher to train on writing lesson plans. Measurement, evaluation, and transfer of grades, it was suggested that there should be a training on method and steps for evaluation, developing various aspects of testing instrument. Research for developing a quality education, it was suggested that provide opportunity for teachers to joint planning with the administrators, setting a policy to develop the quality of education through research. Development of media innovation and technology aspect, it was suggested that conducting needs analysis for using media and technology for teaching and learning. Supervision of Education aspect. It was suggested that teachers joint plan to develop supervision of education.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920872.pdf1.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น