Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างสารไซเดอโรฟอร์ ของแอคติโนมัยสีทที่คัดแยกจากมูลไส้เดือนและผักบุ้งทะเลโดยเปรียบเทียบกับ P. putida บนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 0-1,000 มิลลิโมลาร์ นำแอคติโนมัยสีททั้ง 35 ไอโซเลต ตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและจัดจำแนกในระดับสกุลโดยใช้ยีน 16S rRNA ตรวจสอบการสร้างสารไซเดอร์โรฟอร์บนอาหารแข็ง Chrome azurol S (CAS) และบ่มที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส 3 สัปดาห์ผลพบว่าเกิดวงใสสีส้มรอบ ๆ โคโลนีของ P. putida และแอคติโนมัยสีททั้ง 35 ไอโซเลต และไอโซเลต BBUU157 ที่คัดแยกจากมูลไส้เดือน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสสีส้มใหญ่สุด (4.70 เซนติเมตร) รองลงมาคือไอโซเลต BBUU500 ที่คัดแยกจากผักบุ้งทะเล (4.40 เซนติเมตร) ในขณะที่ P. putida มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.20 เซนติเมตรและเมื่อนำทั้งสามสายพันธุ์เลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ CAS ที่มีสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 200-1,000 มิลลิโมลาร์พบว่าไอโซเลต BBUU500 สร้างไซเดอร์โรฟอร์ที่ความเข้มข้นเกลือโซเดียมคลอไรด์ 400 มิลลิโมลาร์ได้เท่ากับสภาวะที่ไม่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ในขณะที่ไอโซเลต BBUU157 และ P. putida สร้างไซเดอร์โรฟอร์ได้ลดลงผลการตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย พบว่า 23 ไอโซเลตมีฤทธิ์ต้าน B. cereus4 ไอโซเลตมีฤทธิ์ต้าน E. coli 2 ไอโซเลตมีฤทธิ์ต้าน P. aeruginosa และ 15 ไอโซเลตมีฤทธิ์ต้าน S. aureus ผลการวิเคราะห์ลำดับเบสของยีน 16S rRNA มีค่าความเหมือนกับสกุล Streptomyces 28 ไอโซเลต สกุล Kitasatospora 3 ไอโซเลต สกุล Micromonospora 1 ไอโซเลต และอีก 3 ไอโซเลต เกิดการปนเปื้อนไม่สามารถวิเคราะห์ผลได้