DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบการผลิตไซเดอโรฟอร์และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของแอคติโนมัยสีทที่คัดแยกจากมูลไส้เดือนและผักบุ้งทะเล กับแบคทีเรียซูโดโมแนส พูติด้า ภายใต้สภาวะความเค็ม

Show simple item record

dc.contributor.advisor เศรษฐวัชร ฉ่ำศาสตร์
dc.contributor.author ทิราภรณ์ กนกฉันท์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:24Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:24Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9978
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างสารไซเดอโรฟอร์ ของแอคติโนมัยสีทที่คัดแยกจากมูลไส้เดือนและผักบุ้งทะเลโดยเปรียบเทียบกับ P. putida บนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 0-1,000 มิลลิโมลาร์ นำแอคติโนมัยสีททั้ง 35 ไอโซเลต ตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและจัดจำแนกในระดับสกุลโดยใช้ยีน 16S rRNA ตรวจสอบการสร้างสารไซเดอร์โรฟอร์บนอาหารแข็ง Chrome azurol S (CAS) และบ่มที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส 3 สัปดาห์ผลพบว่าเกิดวงใสสีส้มรอบ ๆ โคโลนีของ P. putida และแอคติโนมัยสีททั้ง 35 ไอโซเลต และไอโซเลต BBUU157 ที่คัดแยกจากมูลไส้เดือน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสสีส้มใหญ่สุด (4.70 เซนติเมตร) รองลงมาคือไอโซเลต BBUU500 ที่คัดแยกจากผักบุ้งทะเล (4.40 เซนติเมตร) ในขณะที่ P. putida มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.20 เซนติเมตรและเมื่อนำทั้งสามสายพันธุ์เลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ CAS ที่มีสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 200-1,000 มิลลิโมลาร์พบว่าไอโซเลต BBUU500 สร้างไซเดอร์โรฟอร์ที่ความเข้มข้นเกลือโซเดียมคลอไรด์ 400 มิลลิโมลาร์ได้เท่ากับสภาวะที่ไม่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ในขณะที่ไอโซเลต BBUU157 และ P. putida สร้างไซเดอร์โรฟอร์ได้ลดลงผลการตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย พบว่า 23 ไอโซเลตมีฤทธิ์ต้าน B. cereus4 ไอโซเลตมีฤทธิ์ต้าน E. coli 2 ไอโซเลตมีฤทธิ์ต้าน P. aeruginosa และ 15 ไอโซเลตมีฤทธิ์ต้าน S. aureus ผลการวิเคราะห์ลำดับเบสของยีน 16S rRNA มีค่าความเหมือนกับสกุล Streptomyces 28 ไอโซเลต สกุล Kitasatospora 3 ไอโซเลต สกุล Micromonospora 1 ไอโซเลต และอีก 3 ไอโซเลต เกิดการปนเปื้อนไม่สามารถวิเคราะห์ผลได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ไซเดอโรฟอร์
dc.subject แบคทีเรีย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
dc.subject แอคติโนมัยสีท
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบการผลิตไซเดอโรฟอร์และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของแอคติโนมัยสีทที่คัดแยกจากมูลไส้เดือนและผักบุ้งทะเล กับแบคทีเรียซูโดโมแนส พูติด้า ภายใต้สภาวะความเค็ม
dc.title.alternative Comprtive study of siderophore production nd ntibcteril ctivity of ctinomycetes isolted from erthworm cstings nd bech morning-glory nd pseudomons putid under sline condition
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were to compare the capability of producing siderophore of actinomycetes isolated from earthworm castings and beach morning-glory with P. putida on the media supplemented with 0-1,000 mM NaCl solution. A total of 35 actinomycetes were tested antagonistic activity and identified in the genus level by using 16S rRNA. To elucidate ability of siderophore production, the bacteria were cultured on Chrome azurol S (CAS) and incubated at 27 °C for 3 weeks. The results showed that a total of 35 actinomycetes and P. putida appeared orange halo zone around the colonies. The BBUU157 isolated from earthworm castings was observed the widest halo zone diameter (4.70 cm.) and BBUU500 isolated from beach morning-glory was the second widest diameter (4.40 cm.) while P. putida showed 2.20 centimeters in diameter. Three bacteria strains were cultured on CAS supplemented with NaCl concentration 200-1,000 mM. The results showed that BBUU500 in the presence of 400 mM NaCl was able to produce siderophore at the same level as the controlled BBUU500 while BBUU157 and P. putida in presence of 400 mM NaCl was able to produce siderophore less than the controlled BBUU157 and P. putida. For the results of antagonistic actinomycetes, 23 isolates showed activity against B. cereus, 4 isolates against E. coli, 2 isolates against P. aeruginosa and 15 isolates againstS. aureus.For the results of the identification of 16S rRNA gene sequence showed that 28 isolates is similar to Streptomyces, 3 isolates was similar to Kitasatospora, and 1 isolate was similar to Micromonospora while 3 isolates were contaminated and could not be analyzed.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account