Abstract:
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม : ไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและบ้านถวายจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจน วิเคราะห์จุดเด่นด้านวัฒนธรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อค้นหาวิธีการและแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า ไม้แกะสลักบ้านซือเหอและบ้านถวายมีจุดเด่นที่เหมือนกันหลายอย่าง ได้แก่ เป็นทักษะงานฝีมือที่แสดงเอกลักษณ์ของประเทศหรือภูมิภาค สะท้อนและนำเสนอวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีและศาสนาของคนในท้องถิ่น ตลอดจนมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์สูงแต่ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักบ้านถวายและบ้านซือเหอยังประสบกับปัญหาหลายด้าน ดังนั้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักบ้านซือเหอและบ้านถวายยังคงได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีและต่อเนื่องจึงมีความจำเป็นต้องหามาตรการและแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นมาปรับใช้ ได้แก่ 1) การกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม 2) การประชาสัมพันธ์ 3) นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในอุตสาหกรรม 4) การสร้างทีมงานช่างแกะสลัก 5) การสร้างแบรนด์ และ 6) การพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมหัตถกรรมการท่องเที่ยวเมื่อผู้วิจัยนำแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่ผู้วิจัยนำเสนอไว้ทดลองสร้างโครงการเพื่อการพัฒนาในอนาคตพบว่า ก่อให้เกิด ประโยชน์ที่สำคัญ 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ เป็นแนวทางการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างองค์ความรู้ให้คนในประเทศและใช้แก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นได้