DSpace Repository

แนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม : ไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภรดี พันธุภากร
dc.contributor.advisor ภูวษา เรืองชีวิน
dc.contributor.author ดู, เคดิ
dc.contributor.author Du, Kdi
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:10Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:10Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9932
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง “แนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม : ไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและบ้านถวายจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจน วิเคราะห์จุดเด่นด้านวัฒนธรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อค้นหาวิธีการและแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า ไม้แกะสลักบ้านซือเหอและบ้านถวายมีจุดเด่นที่เหมือนกันหลายอย่าง ได้แก่ เป็นทักษะงานฝีมือที่แสดงเอกลักษณ์ของประเทศหรือภูมิภาค สะท้อนและนำเสนอวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีและศาสนาของคนในท้องถิ่น ตลอดจนมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์สูงแต่ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักบ้านถวายและบ้านซือเหอยังประสบกับปัญหาหลายด้าน ดังนั้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักบ้านซือเหอและบ้านถวายยังคงได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีและต่อเนื่องจึงมีความจำเป็นต้องหามาตรการและแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นมาปรับใช้ ได้แก่ 1) การกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม 2) การประชาสัมพันธ์ 3) นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในอุตสาหกรรม 4) การสร้างทีมงานช่างแกะสลัก 5) การสร้างแบรนด์ และ 6) การพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมหัตถกรรมการท่องเที่ยวเมื่อผู้วิจัยนำแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่ผู้วิจัยนำเสนอไว้ทดลองสร้างโครงการเพื่อการพัฒนาในอนาคตพบว่า ก่อให้เกิด ประโยชน์ที่สำคัญ 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ เป็นแนวทางการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างองค์ความรู้ให้คนในประเทศและใช้แก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การแกะสลักไม้ -- จีน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.title แนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม : ไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่
dc.title.alternative Wood crvings culturl products mngement: shihe villge, yunnn province nd bntwi, chingmi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research “Woodcarvings cultural products management: Shihe village, Yunnan Province and Bantawai, Chiang Mai Province” investigates woodcarving cultural products in Shihe Village, China and Bantawai, Thailand. The purpose of this study is to analyze the strengths of cultural and industrial development in both places in order to search for the appropriate management approaches and guidelines that are in line with local characteristics of the woodcarving cultural products. According to studies, it has been found that there are many common features between woodcarving in Bantawai and that in Shihe Village. For example, craft skills could show the identity of a country or region, and reflect and present the way of life, customs, traditions and religion of the local people, as well as have high commercial values. However, as of today, the woodcarving industries in both Bantawai and Shihe Village are still confronted with many problems. Therefore, to make the woodcarving products in Bantawai and Shihe Village develop in the right direction and in a sustainable way, it is necessary to find the appropriate methods and guidelines to manage the cultural products, which are compatible with local characteristics. These methods and guidelines are: 1) Determining the direction of the industrial development, 2) Managing public relations, 3) Adopting advanced technology in the industry, 4) Creating a carver team, 5) Branding the products, and 6) Developing the handicraft tourism industry. After the present researcher adopted the above-mentioned guidelines for cultural product management in hope of building a project for future development in Bantawai and Shihe Village, it was found that the guidelines could bring benefits for the woodcarving industry in four major aspects, namely creating an effective conservation approach, achieving sustainable development, creating knowledge for people in the country and contributing to the solutions of social problems.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account