Abstract:
การวิจัยเรื่อง การศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์การเกาะสลักหินของท้องถิ่นภาคตะวันออกตอนล่าง (STUDIES ON THE DEVELOPMENT OF THE PATTERN OF ROCK CARVING ON THE LOWER EASTERN REGION) เป็นการวิจัยผสมผสานระเบียนวิธีวิจัย (Combined Research) มีการศึกษาจากการสำรวจภาคสนาม เอกสารทางประวัติศาสตร์ และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องให้ทราบถึง งานเกาะสลักหินของท้องถิ่นภาคตะวันออกตอนล่าง มีจุดเริ่มต้นโดยชาวจีนที่แหลมแท่น ตำบลแสนสุข (หนองมนเดิม) จังหวัดชลบุรี ในตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นได้แพร่หลายไปที่ตำบลอ่างศิลา ตำบลเสม็ด ตำบลหนองรี ตำบลบ้านสวน และตำบลบ้านบึงตามลำดับงานเกาะสลักหินระยะแรกเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้สอยในครัวเรือน และประกอบพิธีทางความเชื่อของชาวจีนเดิม ได้แก่ โม่ และ ป้ายฮวงซุ้ย ต่อมาจึงพัฒนารูปแบบงานเกาะสลัก เป็นครก ลูกนิมิต ใบเสมา ตามแบบวิธีไทย อีกทั้งรูปแบบทำขึ้นส่วนใหญ่ ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางกรรมวิธี และกลวิธี ช่างส่วนมากจะกระทำตามๆกันด้วยรูปแบบคล้ายๆกันการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์การแกะสลักหินควรมีวิธีดำเนินการเป็น 2 แนว คือ ประการแรก อนุรักษ์ สืบสานรูปแบบดั้งเดิม ประการที่สอง ถ่ายทอดและพัฒนารูปแบบใหม่ โดยอาศัยวิธีการวิจัยและพัฒนา เข้ามาช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาจริงได้ กับทั้งขจัดปัญหาและอุปสรรค์ที่มีผลต่อการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ การออกแบบ วัสดุช่าง เครื่องมืออุปกรณ์ รวมถึงการวิจัยแบบเฉพาะทางเป็นอาทิ ให้ปัจจัยข้างต้นมีส่วนสนับสนุน เกื้อกุล การพัฒนารูปแบบให้เจริญก้าวหน้า ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและยุคโลกาภิวัฒน์ ทั้งนี้ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ไม่ได้อยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับทุกปัจจัยที่บูรณาการเข้ามาด้วย