DSpace Repository

นิเวศวิทยาของหาดทรายชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author วิภูษิต มัณฑะจิตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:56Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:56Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/979
dc.description.abstract การศึกษาลักษณะทางนิเวศวิทยาและสถานภาพปัจจุบันของหาดทรายชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยทำการเก็บข้อมูลด้านชีวภาพ กายภาพ และทางเคมี จากหาดทรายทั้งหมด 18 หาด ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี จนถึงจังหวัดตราด การศึกษาประชาคมสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ พบสัตว์รวม 40,572 ตัว เฉลี่ย 185.5 ตัว/ม2 แบ่งออกเป็น 76 ชนิดจาก 5 กลุ่มใหญ่ คือ Polychaeta, Crustacea, Gastropoda, Bivalvia และ Echinoderamata โดยหอยสองฝาเป็นกลุ่มที่พบหลากหลายและชุกชุมที่สุด เมื่อพิจารณาลักษณะของหาดทรายแต่ละแห่ง สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่บริเวณชายฝั่งด้านอ่าวไทยตอนในจะมีความหลากหลายและความชุกชุมสูงกว่าหาดทรายที่อยู่ตอนนอกออกมา สำหรับองค์ประกอบของอนุภาคทรายและสีมีความแตกต่างระหว่างหาดทรายที่ทำการศึกษาเช่นกัน โดยหาดทรายที่อยู่บริเวณอ่าวไทยตอนในจะหยาบ ขณะที่หาดทรายที่อยู่ตอนนอกจะละเอียดกว่า แสดงให้เห็นอิทธิพลของคลื่น-ลมที่แตกต่างกัน ส่วนสีของทรายมีความแตกต่างระหว่างหาดและไม่มีรูปแบบที่แน่นอน สีของทรายอยู่ในกลุ่มสีเทาและสีน้ำตาล ความแตกต่างของสีทรายแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของทรายและอิทธิพลเฉพาะพื้นที่ สำหรับคุณสมบัติทางเคมีของน้ำแต่ละหาดมีความผกผันมากจากกิจกรรมจากชุมชนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะบางพระ และศรีราชาที่มีค่าของสารอาหารในน้ำและปริมาณอินทรีย์สารในดินสูง สำหรับหาดบางแสน-วอนนภา แม้สารอาหารในน้ำมีค่าต่ำตั้งแต่ปริมาณสารอินทรีย์มีค่าสูง หาดทรายในภาคตะวันออกแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1) หาดทราย reflective ที่เป็นหาดหน้าแคบ มีความหลากหลายและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ต่ำ ได้แก่ หาดพยูน และหาดน้ำริน และหาดแสงจันทร์ 2) หาดทราย Intermediate เป็นหาดที่มีเขตทรายแห้งแคบแต่เขตคลื่นแตกตัวกว้าง มีความหลากหลายและชุกชุมของสัตว์หน้าดินมาก 3) หาดหทรายdissipative เป็นหาดที่มีเขตทรายแห้งกว้างแต่เขตคลื่นแตกตัวแคบ มีความชุกชุมและความหลากหลายของสัตวืที่พบปานกลาง ได้แก่ หาดแม่รำพึง หาดสวนสน และหาดแม่พิมพ์ ทั้งนี้ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์หาดทรายในบริเวณนี้ได้แก่ คลื่นลม ที่มีผลต่อการกำหนดชนิดของหาดและสิ่งมีชีวิตที่พบนั่นเอง นอกจากนี้ปัจจัยเฉพาะพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศนี้คือน้ำจากแผ่นดินที่จะนำพาธาตุอาหารมาสู่หาดทรายและน้ำบริเวณชายฝั่ง ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่าหาดทรายในภาคตะวันออกถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์มาก เนื่องจากประชากรอยู่หนาแน่นจากการที่เป็นทั้งแหล่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว รูปแบบการรบกวนหากรุนแรงจะมีผลทางกายภาพ คือเกิดการกัดเซาะทำให้หาดหายไป และหากไม่รุนแรง เช่น การเพิ่มขึ้นของของเสรยจากแผ่นดินทำให้เกิด Eutrophication มีผลการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของหาดทรายทั้งทางชีวภาพและทางกายภาพ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ชายฝั่ง - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject นิเวศวิทยาชายฝั่ง - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title นิเวศวิทยาของหาดทรายชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative Sandy beach ecology of the East of Thailand en
dc.type Research
dc.year 2544
dc.description.abstractalternative Status and ecological studies of sandy beaches on the East Coast of Thailand were carried out during 1999-2000. A total of 18 beaches from 4 provinces in the east of Thailand: Chonburi, Rayong, Chantaburi and Trat, were investigated on their macro benthic communities and also some physical and chemical factors. There were 40,572 individuals of macro benthos were collected where average abundance was 185 individuals/m2. A total of 76 taxon from 5 groups; Polychaeta, Crustacea, Gastropoda, Bivalvia and Echinoderamata were identified. Bivalvia was the most diverse and abundance found in the study area. There was a spatial variation on macro benthic community which sandy beaches on the innerpart of the Thailand accommodate more diverse and abundance community than those on the Gulf of Thailand have course sand while the outer part had fine sand. This result indicated the different wave influence between areas. There was a variation on the nutrient concentration of interstitial water among beach. Gennerally, nutrient concentration were low in most beaches excepted Bang Pra and Sriracha where phosphate, silicate and also organic matter in the sediment were relatively very high. At Bangsean and Wonnapha, nutrient concentration was relatively low but organic matter was high. This result indicated different effects from terrestrial influence. Sandy beaches in the east of Thailand can be classified into three types as reflective, intermediate and dissipative beaches. Reflective beach has narrow littoral zone where macro benthic community is relatively less abundance where Prayoon, Namrin and Sangchantra are included in this group. Intermediate beach has narrow drying zone and wide surf zone where macro benthic community is relatively abundance where all sandy beaches in Chonburi and Trat are in this group. Lastly, dissipative beach has wide srying zone but narrow surf zone where macrobenthic community is moderate abundance where Maerumpung, Suanson and Maepim are in this group. In general, factors that have strong influence on type of sandy beach and benthic communities were wave. Local infliences can also be noticed where ground water can increase nutrient input to the sandy beach and also surrounding water. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account