Abstract:
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์พื้นบ้านกระบวนการสืบทอดการปรับปรน และการจัดการองค์ความรู้เพื่อจัดทำข้อมูลสารสนเทศโดยใช้แนวคิดการจัดการองค์ความรู้แนวคิดนาฏศิลป์พื้นบ้านแนวคิดการสืบทอดวัฒนธรรม แนวคิดการปรับปรนวัฒนธรรม แนวคิดการประเมินคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมและแนวคิดการสื่อความหมายทางวัฒนธรรมมาดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า องค์ความรู้นาฏศิลป์โดดเด่นในเทศกาลฮาเจ๋ คือ 1) รำถวายสุรา รำถวายธูป รำถวายดอกไม้ รำํถวายโคมและรำถวายช่อบุปผาเป็นส่วนหน่ึงของพิธีีกรรมทางศาสนา 2) ผู้แสดงรำล้วนเป็นสาวจิงจู๋ที่แต่งงานแล้วหรือผู้หญิงต่างชุมชนที่แต่งงานกับชายชาวจิงจู๋ 3) ท่ารำที่ปรากฏอาจกำหนดจากการเลียนแบบลักษณะธรรมชาติท่าทางของชาวประมง 4) อุปกรณ์การรำมีธูป ดอกไม้พลาสติกและขนไก่ขนนก ซ่ึงไก่นกเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวจิงจู๋ 5) เครื่องดนตรีมีกลองใหญ่ กลองเล็ก ฆ้องใหญ่ ฆ้องเล็ก ทำให้ลีท่ารำ สวยงามขึ้น 6) เนื้อเพลงที่สาวฮาเม่ยขับร้องในพิธีีกรรมนั้นเกี่ยวกับวิถีีชีวิต คติความเชื่ออันป็นสุนทรียะด้านจิตใจและประเพณีของชาวจิงจู๋ สำหรับการปรับปรนเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในนาฏศิลป์ จิงจู๋ ไดแ้ก่ ท่ารำ อุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย สถานที่แสดงรำและจํานวนผู้แสดง ส่วนเหตุปัจจัยที่ทำให้มีการปรับปรน ดังนี้ 1) กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม 2) การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม 3) การกระทำของผู้เชี่ยวชาญในทางสังคม 4) การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและ 5) การเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากร ส่วนวิธีีการสืบทอดภูมิปัญญานาฏศิลป์พื้นบ้านมี 3 วิธี คือ การสืบทอดแบบการบอกเล่า โดยตรงการสืบทอดผ่านพิธีีกรรมและการสืบทอดโดยวิธีการส่งเสริมวัฒนธรรม ส่วนแนวทางการ จัดการองค์ความรู้ คือ ควรพัฒนาให้ศาลเจ้าฮาถิงและพิพิธภัณฑ์จิงจู๋เป็นแหล่งเรียนรู้ผ่านการจัดทำแผ่นพับหนังสือเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับคนทั่วไป ตลอดจนสนับสนุนให้สายฮาเม่ยและอาสาสมคัรเป็นผสู้ื่อความหมายและนำเสนอนาฏศิลป์ผ่านกิจกรรมทางเลือก ตามลําดับ