Abstract:
การวิจัย เรื่อง สถาปัตยกรรมรัชกาลที่ 3 ในมณฑลการปกครองของภาคตะวันออก เป็นการวิจับเชิงประวัติศาสตร์ พร้อมไปศึกษา สถาปัตยกรรมประเภทอาคาร/เรือน ร่วมสมัยที่มีหลักฐานปรากฏในมณฑลเทศาภิบาล ปราจีน และ จันทบุรี ในช่วงเวลาเดียวกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2437 – 2453 โดยศึกษาจากการสำรวจภาคสนาม เอกสารทางประวัติศาสตร์ เอกสารอื่นๆ ภาพถ่ายเก่า และ การ สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึง สถาปัตยกรรมรัชกาลที่ 5 มีการปลูกสร้างกันมากในเขตศูนย์กลางที่ตั้งมณฑล และ บริเวณใกล้เคียง ในระยะแรกตัวอาคาร/เรือน มักนิยมสร้างหันหน้าออกสู่แม่น้ำตามเส้นทางสัญจรสายหลักมาแต่เดิม เช่น แม่น้ำบางปะกง และ แม่น้ำจันทบุรี ต่อเมื่อระบบการวางผังเมืองได้เริ่มมีบทบาทต่อการจัดการพื้นที่ของมณฑลทั้งสอง มีผลให้การวางตำแหน่งของตัวอาคาร/เรือน บนผังบริเวณที่ต้องหันไปหาแนวถนนแทน อีกทั้งมีการจัดแบ่งเขตระหว่างที่พักอาศัย และ เขตสถานที่ราชการจากกันอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน
รูปแบบสถาปัตยกรรมประเภทอาคารสาธารณะ บ้านพักข้าราชการ มีการก่อสร้างตามแบบอิทธิพลตะวันตกเป็นจำนวนมาก และอาศัยแบบอย่างมาจากเมืองหลวง มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมเป็นส่วนใหญ่ และพื้นที่ใช้สอยในตัวอาคาร/ เรือน มีการแบ่งกั้นเป็นห้องๆ ในขณะที่เรือนสามัญชน และอาคารทางศาสนายังดำรงลักษณะไทยแบบตามประเพณีไทยท้องถิ่นไว้ ถึงแม้มีอิทธิพลในองค์ประกอบส่วนรองของสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่น ในมณฑลปราจีน และมณฑลจันทบุรี มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างชาติเป็นทุนเดิมอยู่แล้วบ้างแล้ว อิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาเสริมใหม่ยิ่งช่วยสรรสร้างพหุลักษณ์ของสถาปัตยกรรมรัชกาลที่ 5 ในสองมณฑลให้แจ่มชัดขึ้น มีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง