Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาทางด้านสีไทยวิเคราะห์ลักษณะสีที่เกิดจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยภูมิปัญญาด้านสีวิเคราะห์และทดลองหาอัตราส่วนของสีจากวัสดุจากธรรมชาติวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของสีเกิดจากการหาอัตราส่วนจัดกลุ่มระบบสีที่เกิดจากวัสดุจากธรรมชาติเป็นหมวดหมู่ และสังเคราะห์ภูมิปัญญาทางด้านสีที่เกิดจากการวิเคราะห์โดยนําผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในงานผลิตภัณฑ์และงานกราฟิก โดยสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเชิงพาณิชย์และสร้างหนังสือการนําองค์ความรู้ทางด้านสีไปใช้เป็นแนวทางด้านสีและการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และงานกราฟิกโดยใช้แบบแผนการวิจัย ผสมผสานวิธีโดยใช้กลุ่มวัสดุที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 8 ชนิด คือ ฝาง กระเจี๊ยบ ครั่ง ขมิ้น แก่นขนุน หูกวาง เพกา และอัญชัน โดยใช้สารที่ทําให้เกิดสีที่ได้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน 5 ชนิด คือ ขี้เถ้า ไม้มะขาม ปูนเปลือกหอยแครงเผา เกลือแกง สารส้ม และมะนาวโดยทดลองตามวิธีจากทฤษฎีเส้นตรงและจากทฤษฎีสามเหลี่ยมด้านเท่าและนําสีที่ได้มาวิเคราะห์ และจัดหมวดหมู่สีร่วมกับรูปแบบสีไทยและสีสากลสร้างชุดชื่อสีและนําองค์ความรู้จากภูมิปัญญาการสร้างสรรค์สีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประยุกต์สู่การออกแบบโดยมีแบบประเมินความคิดเห็นองค์ความรู้ที่ได้จากการทดลองประยุกต์การสร้างสรรค์งานผลิตภัณฑ์และการสร้างสรรค์งานกราฟิก ผลการวิจัยปรากฏว่า สีที่เกิดจากการสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์และสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพโดยการนําวัสดุธรรมชาติใกล้ตัวในท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ตัวมาดัดแปลงสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ซึ่งสีที่เกิดจากวัสดุมีโทนสีเรียงตัวกันตามสารที่ทําให้เกิดสีที่ได้จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH 1-14) ที่ต่างกันทั้งหมด 930 เฉดสี 31 โครงสี 8 ชื่อชุด ประกอบด้วย สีกลุ่มสีอรุโณทัยลักษณะสีเหลือง สีส้ม สีแดง ท้องฟ้าเป็นสีครามเจือสีม่วงกลุ่มสีปักษาสวรรค์ลักษณะสีน้ำตาลแดงเลือดหมูสีแหลืองกลุ่มสีสุพรรณิการ์ลักษณะสีเหลืองสด สีเหลืองทอง และเหลืองเข้มกลุ่มสี ช่อสุวรรณ ลักษณะมีสีเหลือง สีเขียว สีขาวอมเหลืองกลุ่มครึ้มฟ้ามีลักษณะ สีฟ้า สีฟ้าหม่น สีฟ้าอมเขียว กลุ่มกระดุมแดงมีลักษณะ สีขาว นวล เหลือง ชมพู แดง ม่วงเข้ม กลุ่มแก้วขมิ้นลักษณะ สีเขียว สีเขียวอ่อน สีเขียวอมเหลืองสด สีเหลือง และกลุ่มส้มปูลักษณะสีแดงเข้ม สีเหลืองหรือสีชมพูอ่อน และสีขาวแกมชมพู โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะของสีที่เกิดจากแผ่นดินแม่หรือแผ่นดินที่ให้กําเนิดวัสดุและภูมิปัญญาในท้องถิ่น ซึ่งแบบรูปแบบใหม่ที่สร้างความแตกต่างในรูปแบบอัตลักษณ์ของไทยสีในท้องถิ่นการนําองค์ความรู้จากการศึกษาไปใช้งานโดยสร้างเป็นหนังสือสามารถนําความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์โดยแบ่งการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อองค์ความรู้ทางด้านวัสดุและกรรมวิธีการผลิตสี มีเหมาะสมมากที่สุด (x =4.85, SD =0.137) ด้านรูปแบบเฉดสีมีเหมาะสมมาก (x = 4.40, SD =0.515) ด้านรูปแบบเฉดสีเมื่อเทียบเคียงกับสีไทยและสีสากล มีเหมาะสมมาก ด้านการนําไปประยุกต์ใช้ (x =4.87, SD = 0.183)