dc.contributor.advisor | Sungh Kim | |
dc.contributor.advisor | เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง | |
dc.contributor.author | กันยาพร กุณฑลเสพย์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T03:59:38Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T03:59:38Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8566 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาทางด้านสีไทยวิเคราะห์ลักษณะสีที่เกิดจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยภูมิปัญญาด้านสีวิเคราะห์และทดลองหาอัตราส่วนของสีจากวัสดุจากธรรมชาติวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของสีเกิดจากการหาอัตราส่วนจัดกลุ่มระบบสีที่เกิดจากวัสดุจากธรรมชาติเป็นหมวดหมู่ และสังเคราะห์ภูมิปัญญาทางด้านสีที่เกิดจากการวิเคราะห์โดยนําผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในงานผลิตภัณฑ์และงานกราฟิก โดยสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเชิงพาณิชย์และสร้างหนังสือการนําองค์ความรู้ทางด้านสีไปใช้เป็นแนวทางด้านสีและการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และงานกราฟิกโดยใช้แบบแผนการวิจัย ผสมผสานวิธีโดยใช้กลุ่มวัสดุที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 8 ชนิด คือ ฝาง กระเจี๊ยบ ครั่ง ขมิ้น แก่นขนุน หูกวาง เพกา และอัญชัน โดยใช้สารที่ทําให้เกิดสีที่ได้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน 5 ชนิด คือ ขี้เถ้า ไม้มะขาม ปูนเปลือกหอยแครงเผา เกลือแกง สารส้ม และมะนาวโดยทดลองตามวิธีจากทฤษฎีเส้นตรงและจากทฤษฎีสามเหลี่ยมด้านเท่าและนําสีที่ได้มาวิเคราะห์ และจัดหมวดหมู่สีร่วมกับรูปแบบสีไทยและสีสากลสร้างชุดชื่อสีและนําองค์ความรู้จากภูมิปัญญาการสร้างสรรค์สีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประยุกต์สู่การออกแบบโดยมีแบบประเมินความคิดเห็นองค์ความรู้ที่ได้จากการทดลองประยุกต์การสร้างสรรค์งานผลิตภัณฑ์และการสร้างสรรค์งานกราฟิก ผลการวิจัยปรากฏว่า สีที่เกิดจากการสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์และสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพโดยการนําวัสดุธรรมชาติใกล้ตัวในท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ตัวมาดัดแปลงสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ซึ่งสีที่เกิดจากวัสดุมีโทนสีเรียงตัวกันตามสารที่ทําให้เกิดสีที่ได้จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH 1-14) ที่ต่างกันทั้งหมด 930 เฉดสี 31 โครงสี 8 ชื่อชุด ประกอบด้วย สีกลุ่มสีอรุโณทัยลักษณะสีเหลือง สีส้ม สีแดง ท้องฟ้าเป็นสีครามเจือสีม่วงกลุ่มสีปักษาสวรรค์ลักษณะสีน้ำตาลแดงเลือดหมูสีแหลืองกลุ่มสีสุพรรณิการ์ลักษณะสีเหลืองสด สีเหลืองทอง และเหลืองเข้มกลุ่มสี ช่อสุวรรณ ลักษณะมีสีเหลือง สีเขียว สีขาวอมเหลืองกลุ่มครึ้มฟ้ามีลักษณะ สีฟ้า สีฟ้าหม่น สีฟ้าอมเขียว กลุ่มกระดุมแดงมีลักษณะ สีขาว นวล เหลือง ชมพู แดง ม่วงเข้ม กลุ่มแก้วขมิ้นลักษณะ สีเขียว สีเขียวอ่อน สีเขียวอมเหลืองสด สีเหลือง และกลุ่มส้มปูลักษณะสีแดงเข้ม สีเหลืองหรือสีชมพูอ่อน และสีขาวแกมชมพู โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะของสีที่เกิดจากแผ่นดินแม่หรือแผ่นดินที่ให้กําเนิดวัสดุและภูมิปัญญาในท้องถิ่น ซึ่งแบบรูปแบบใหม่ที่สร้างความแตกต่างในรูปแบบอัตลักษณ์ของไทยสีในท้องถิ่นการนําองค์ความรู้จากการศึกษาไปใช้งานโดยสร้างเป็นหนังสือสามารถนําความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์โดยแบ่งการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อองค์ความรู้ทางด้านวัสดุและกรรมวิธีการผลิตสี มีเหมาะสมมากที่สุด (x =4.85, SD =0.137) ด้านรูปแบบเฉดสีมีเหมาะสมมาก (x = 4.40, SD =0.515) ด้านรูปแบบเฉดสีเมื่อเทียบเคียงกับสีไทยและสีสากล มีเหมาะสมมาก ด้านการนําไปประยุกต์ใช้ (x =4.87, SD = 0.183) | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.subject | สีย้อมจากพืช | |
dc.subject | สีผสมอาหาร | |
dc.subject | สีย้อมและการย้อมสี | |
dc.title | การสร้างสรรค์สีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประยุกต์สู่การออกแบบ | |
dc.title.alternative | Cretive environmentl friendly colortion system for design | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were: 1) to study Thai color wisdom by analyzing color characteristics of environmentally friendly materials based on the color knowledge, 2) to analyze and experiment the color ratio from the natural material, 3) to analyze the physical characteristics of colors by finding the ratio, grouping of color systems derived from natural materials into categories, and synthesizing the color knowledge derived from analysis by applying research results into products and graphics. Creating product prototypes was to guide commercial development and creating books. Bringing the color knowledge was to use for color processes and create products and graphics by using the mixed methodology. The study materials were divided into 8types: sappan, roselle, lac, turmeric, jackfruit, tropical almond, pheka, and butterfly peas by using 5colors of folk wisdom: ashes, mortar shell, salt, alum and lime. Experiment based on the linear and equilateral triangle theory has been using with the color for the analysis, and classified colors in combination with Thai color and universal color scheme. Creating a set of color names and bringingthe knowledge to create environmentally friendly colors were to apply with the design with the evaluation form, and the knowledge acquired from experiment to apply for product and to create graphic design. The results of this research were as follows. The colors derived from the creation of local natural materials are topromote identity and to reduce the impact on the environment effectively by bringing local natural materials to adapt and create benefits. The color from the material was tinted according to the color of the folk wisdom that has a different pH value (pH 1- 14), 930shades, 31color shades and 8names, which consisted of Arunothai (yellow, orange, red, sky blue and indigo purple), Paksasawan (brown-reddish, and yellow), Supanniga (fresh yellow, golden yellow, and dark yellow), Chosuwannalasana (yellow, green, and yellow-white), and Krumfa (blue, pale blue, and blue-green), Kradumdang (white, clay, yellow, pink, red, and dark ช purple, Kaewkamin (green, turmeric, fresh yellow-green, yellow), and Sompue (dark red, yellow or light pink, and pinky white. These unique colors of the mother’s land or land gave birth to local materials and wisdom. This new style made a difference in the identity of Thai local color. The use of knowledge from the study to create a book could be useful to share by evaluating to the knowledge for the material and the process of producing color that were the most appropriate (xത = 4.85, SD = 0.137). The color scheme was very appropriate (xത = 4.40, SD = 0.515), and the color scheme comparing with Thai and universal colors was very appropriate to apply (xത = 4.87, SD = 0.183). | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |