Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสํารวจคุณลักษณะทางวัฒนธรรมและบริบทของชุมชนบางแตนเพื่อนํามาเป็นข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของพิพิธภัณฑ์ ออกแบบโปรแกรมสําหรับจัดทําระบบทะเบียนวัตถุทางวัฒนธรรมของวัด และจัดทํากระบวนการ การสื่อความหมายเพื่อออกแบบนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรม โดยมีระเบียบวิธีดําเนินการวิจัย คือ การจัดการความรู้ การจัดการระบบวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ หลักการบริหารจัดการ พิพิธภัณฑสถานนานาชาติหลักการสื่อสารและปฏิบัติการ การสื่อความหมาย วิธีการดึงดูดนักท่องเที่ยว และหลักการออกแบบนิทรรศการและกิจกรรม ผลของการวิจัยพบว่าบ้านบางแตนได้ชื่อตามพื้นที่มีแตนชุกชุมปรากฏคุณลักษณะและคุณค่าโดดเด่นด้านมรดกวัฒนธรรม คือ (1) คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ บางแตนอยู่ในมณฑลปราจีนบุรี สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลปราจีนบุรีในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 (2) คุณค่าวิถีชีวิต สังคม ประกอบด้วยชุมชน ผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ ไทย จีน ลาว (3) คุณค่าด้านความงามที่ปรากฏในศาสนสถานของวัดบางแตน ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2433 โดยเฉพาะอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนไว้เพื่อเป็นคติให้มั่นคงในความดีงาม (4) ความรู้ด้านภูมิปัญญาที่ปรากฏในกลุ่มชาติพันธุ์ของชุมชน (5) ความเชื่อมโยง ประเพณีแห่พระทางน้ำที่เชื่อมความสามัคคีทั้งในและนอกชุมชน ข้อมูลข้างต้นนี้จะนําไปขยายความในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบางแตน ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 แต่ด้วยมีวัตถุทางวัฒนธรรมจํานวนมาก ยังไม่ได้รับการจัดหมวดหมู่ ผู้วิจัยจึงได้ทําระบบทะเบียนวัตถุสู่โปแกรมอัตโนมัติเพื่อนําไปออกแบบการสื่อความหมายในนิทรรศการถาวร และการออกแบบนิทรรศการหมุนเวียน ซึ่งกําหนดกลุ่มแก่นเรื่องว่า “บางแตนถิ่นบ้านเรา นานเนาหลวงพ่อคุ้ม ชุมชนตลาดเก่า เรื่องเล่าเครื่องสังเค็ด เบ็ดเตล็ดกิจกรรม น้อมนํารักบางแตน” พร้อมออกแบบต้นแบบหนังสือคู่มือนําชมและแผ่นพับประชาสัมพันธ์