DSpace Repository

การจัดทำทะเบียนวัตถุและการสื่อความหมายเพื่อออกแบบนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor มนัส แก้วบูชา
dc.contributor.advisor ภูวษา เรืองชีวิน
dc.contributor.author มณีรัตน์ อินคง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T03:59:36Z
dc.date.available 2023-06-06T03:59:36Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8565
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสํารวจคุณลักษณะทางวัฒนธรรมและบริบทของชุมชนบางแตนเพื่อนํามาเป็นข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของพิพิธภัณฑ์ ออกแบบโปรแกรมสําหรับจัดทําระบบทะเบียนวัตถุทางวัฒนธรรมของวัด และจัดทํากระบวนการ การสื่อความหมายเพื่อออกแบบนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรม โดยมีระเบียบวิธีดําเนินการวิจัย คือ การจัดการความรู้ การจัดการระบบวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ หลักการบริหารจัดการ พิพิธภัณฑสถานนานาชาติหลักการสื่อสารและปฏิบัติการ การสื่อความหมาย วิธีการดึงดูดนักท่องเที่ยว และหลักการออกแบบนิทรรศการและกิจกรรม ผลของการวิจัยพบว่าบ้านบางแตนได้ชื่อตามพื้นที่มีแตนชุกชุมปรากฏคุณลักษณะและคุณค่าโดดเด่นด้านมรดกวัฒนธรรม คือ (1) คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ บางแตนอยู่ในมณฑลปราจีนบุรี สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลปราจีนบุรีในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 (2) คุณค่าวิถีชีวิต สังคม ประกอบด้วยชุมชน ผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ ไทย จีน ลาว (3) คุณค่าด้านความงามที่ปรากฏในศาสนสถานของวัดบางแตน ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2433 โดยเฉพาะอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนไว้เพื่อเป็นคติให้มั่นคงในความดีงาม (4) ความรู้ด้านภูมิปัญญาที่ปรากฏในกลุ่มชาติพันธุ์ของชุมชน (5) ความเชื่อมโยง ประเพณีแห่พระทางน้ำที่เชื่อมความสามัคคีทั้งในและนอกชุมชน ข้อมูลข้างต้นนี้จะนําไปขยายความในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดบางแตน ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 แต่ด้วยมีวัตถุทางวัฒนธรรมจํานวนมาก ยังไม่ได้รับการจัดหมวดหมู่ ผู้วิจัยจึงได้ทําระบบทะเบียนวัตถุสู่โปแกรมอัตโนมัติเพื่อนําไปออกแบบการสื่อความหมายในนิทรรศการถาวร และการออกแบบนิทรรศการหมุนเวียน ซึ่งกําหนดกลุ่มแก่นเรื่องว่า “บางแตนถิ่นบ้านเรา นานเนาหลวงพ่อคุ้ม ชุมชนตลาดเก่า เรื่องเล่าเครื่องสังเค็ด เบ็ดเตล็ดกิจกรรม น้อมนํารักบางแตน” พร้อมออกแบบต้นแบบหนังสือคู่มือนําชมและแผ่นพับประชาสัมพันธ์
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject พิพิธภัณฑ์ชุมชน -- ไทย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.title การจัดทำทะเบียนวัตถุและการสื่อความหมายเพื่อออกแบบนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
dc.title.alternative Wt bngtn vernculr museum: the registrtion on culturl objects nd interprettion for exhibition design
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research was conducted in Research and Development practice which were made to 1) study and explore Cultural significance Values and context of Bang Tan Community for gathering the information of their local history for their own museum. 2) design the program for collecting and making the registration on the cultural objects. 3) interpret on the cultural objects in order to design the exhibition and activities to rotate. The criterion considerate in knowledge management, cultural heritage management, cultural system for quality management, the 5international council of museum, communication in theory and practice, model of interpretation for tourist attraction and exhibition design. The results of this research were investigated the 5 of cultural significances values included 1) Historical value 2)Social value 3) Aesthetic value 4)Scientific value 5) Association valueby gathering through the texts of museum. The Vernacular Museum of Wat Bang Tan wasn't managed continuously because it had been facing the problems about local history, Museum management, Exhibition, knowledge management, incomplete registration on Cultural Objects, lackingof knowledge and understanding, the participation of community and involved corporations. Consequently, researcher developed the program for Cultural Objects and Object ID cards of the Museum which was designed by the new programming model for conducting the registration. For the interpretation, it was applied by using the Model of Communication in Theory and Practice, Tourist Attraction to interpret and present origin, tale, role and duty, use and benefit, type, category, making tour brochure, information sign, direction sign. Also the researcher designed the Exhibition in Vernacular Museum of Wat Bang Tan by presenting the content respectively from the theme setting of focusing on intellectual cultural values which were self-sufficiency and included with notable quality of Bang Tan people about their goodwill and bravery under the slogan BANG-TAN TIN BAN RAO NAN NAO LUANG PHO KUM CHUM CHON TALAD KAO RUEANG LAO KRUENG SANG KED BETTALED KITJAKAM NOMNUM RAK BANG-TAN (Bang Tan our home, ancient LuangPhokum, Oldy market commune houseshop, Sangked narrative, diverse activities, Hometown loving and awareness.).
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account