Abstract:
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาพำนักของมวลน้ำอ่าวไทยในแต่ละเดือนโดยใช้แบบจำลองอุทกพลศาสตร์แบบ 3 มิติ Princeton Ocean Model (POM) ร่วมกับแบบจำลองการแพร่กระจายของสารอนุรักษ์โดยใช้ฟังก์ชัน Remnant ในการคำนวณหาระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของมวลน้ำ โดยมีข้อมูลเฉลี่ยระยะยาวของอุณหภูมิความเค็ม ลม และน้ำท่ารวมถึงน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยนำเข้าผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของมวลน้ำในอ่าวไทยตอนในส่วนใหญ่จะสั้นในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือและยาวในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลยกเว้นในเดือนมกราคมและกันยายนที่พบว่า มีระยะเวลาพำนักของมวลน้ำสูงที่สุด 219 วัน ระยะเวลาพำนักของมวลน้ำอ่าวไทยตอนในสั้นที่สุดในเดือนพฤศจิกายนโดยมีค่าเท่ากับ 101 วัน ผลที่ได้แตกต่างจากระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของมวลน้ำอ่าวไทยทั้งอ่าวที่พบว่า ระยะเวลาพำนักของ มวลน้ำสั้นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยสั้นที่สุดในเดือนสิงหาคมประมาณ 339 วัน และระยะเวลาพำนักยาวในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือโดยยาวที่สุดในเดือนธันวาคม ประมาณ 571 วัน ผลการทดสอบอิทธิพลจากปัจจัยนำเข้าพบว่า ลมเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงเชิงเวลาของระยะเวลาพำนักของมวลน้ำขึ้นน้ำลงส่งผลให้มีระยะเวลาพำนักนานขึ้น ส่วนน้ำท่ามีผลเพียงเล็กน้อยต่อระยะเวลาพำนักนอกจากนี้ยังพบว่า อิทธิพลของมวลน้ำจากทะเลจีนทำให้ระยะเวลาพำนักของอ่าวไทยสั้นลงในทุก ๆ เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ระยะเวลาพำนักของมวลน้ำเฉลี่ยในกรณีการเปลี่ยนปัจจัยนำเข้าตามเวลาพบว่า ให้ผลที่มีค่าใกล้เคียงกันไม่ว่าจะเริ่มต้นการคำนวณจากเดือนใด