Abstract:
การขาดความระมัดระวังและการป้องกันตนเองจากการใช้สารคลอไพริฟอสของชาวนา ทำให้ชาวนาได้รับสัมผัสกับสารคลอไพริฟอสโดยตรง ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงและเกิดภาวะ การเจ็บป่วยตามมา ในการศึกษาครั้งนี้ได้จึงนำโปรแกรมอาชีวสุขศึกษาและความร่วมมือที่ประยุกต์จาก กรอบแนวคิดของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมาใช้ ในกลุ่มชาวนาในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ชาวนากลุ่มเสี่ยงจำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ) การศึกษานี้ใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผู้วิจัยจัดกิจกรรมของโปรแกรมอาชีวสุขศึกษาและความร่วมมือแก่ กลุ่มทดลองในช่วงสัปดาห์แรก เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลองและติดตามผล เกี่ยวกับอาการแสดงต่าง ๆ เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อทดสอบหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส เก็บตัวอย่างปัสสาวะแรกของวันเพื่อคุณภาพของสาร metabolite TCP และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารคลอไพริฟอส นำข้อมูลทั้ง 3 ระยะ มาวิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูล โดยใช้ Repeated measure ANOVA test, t-test และ Chi-square test ผลการวิจัยพบว่า ชาวนากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 44 ปี มีประวัติการใช้สารคลอไพริฟอสเฉลี่ย 12 ปี มีความถี่เฉลี่ยของการใช้สารคลอไพริฟอส 9 ครั้ง/ เดือน และใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการฉีดพ่น สารคลอไพริฟอส 3 ชั่วโมง ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและติดตามผล กลุ่มทดลอง มีอาการทางระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง ระบบทางตา และระบบทางเดินอาหาร พบว่า ต่ำกว่า กลุ่มควบคุม (p < .001) ในช่วงติดตามผลพบว่า มีอาการน้อยลงและมีเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมอาชีวสุขศึกษาและความร่วมมือแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ระดับปริมาณของสาร metabolite TCP ในปัสสาวะ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มทดลอง (AM = 20.94, 12.44 μg TCP/ g creatinine) และกลุ่มควบคุม (AM = 31.38, 38.38 μg TCP/ g creatinine) พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารคลอไพริฟอสเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 4122.7, df = 1, p <.05). ดังนั้น โปรแกรมอาชีวสุขศึกษาและความร่วมมือสามารถช่วยให้กลุ่มตัวอย่างลดความเสี่ยง ในการใช้สารคลอไพริฟอส ซึ่งช่วยลดอาการแสดงกับ Metabolite TCP ลง และเพิ่มระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดและค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารคลอไพริฟอสในกลุ่มทดลอง