dc.contributor.advisor |
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ |
|
dc.contributor.advisor |
ศิริรัตน์ ชาญไววิทย์ |
|
dc.contributor.author |
พีรยุทธ รัตนเสลานนท์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:15:01Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:15:01Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7964 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การขาดความระมัดระวังและการป้องกันตนเองจากการใช้สารคลอไพริฟอสของชาวนา ทำให้ชาวนาได้รับสัมผัสกับสารคลอไพริฟอสโดยตรง ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงและเกิดภาวะ การเจ็บป่วยตามมา ในการศึกษาครั้งนี้ได้จึงนำโปรแกรมอาชีวสุขศึกษาและความร่วมมือที่ประยุกต์จาก กรอบแนวคิดของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมาใช้ ในกลุ่มชาวนาในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ชาวนากลุ่มเสี่ยงจำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ) การศึกษานี้ใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผู้วิจัยจัดกิจกรรมของโปรแกรมอาชีวสุขศึกษาและความร่วมมือแก่ กลุ่มทดลองในช่วงสัปดาห์แรก เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลองและติดตามผล เกี่ยวกับอาการแสดงต่าง ๆ เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อทดสอบหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส เก็บตัวอย่างปัสสาวะแรกของวันเพื่อคุณภาพของสาร metabolite TCP และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารคลอไพริฟอส นำข้อมูลทั้ง 3 ระยะ มาวิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูล โดยใช้ Repeated measure ANOVA test, t-test และ Chi-square test ผลการวิจัยพบว่า ชาวนากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 44 ปี มีประวัติการใช้สารคลอไพริฟอสเฉลี่ย 12 ปี มีความถี่เฉลี่ยของการใช้สารคลอไพริฟอส 9 ครั้ง/ เดือน และใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการฉีดพ่น สารคลอไพริฟอส 3 ชั่วโมง ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและติดตามผล กลุ่มทดลอง มีอาการทางระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง ระบบทางตา และระบบทางเดินอาหาร พบว่า ต่ำกว่า กลุ่มควบคุม (p < .001) ในช่วงติดตามผลพบว่า มีอาการน้อยลงและมีเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมอาชีวสุขศึกษาและความร่วมมือแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ระดับปริมาณของสาร metabolite TCP ในปัสสาวะ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มทดลอง (AM = 20.94, 12.44 μg TCP/ g creatinine) และกลุ่มควบคุม (AM = 31.38, 38.38 μg TCP/ g creatinine) พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารคลอไพริฟอสเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 4122.7, df = 1, p <.05). ดังนั้น โปรแกรมอาชีวสุขศึกษาและความร่วมมือสามารถช่วยให้กลุ่มตัวอย่างลดความเสี่ยง ในการใช้สารคลอไพริฟอส ซึ่งช่วยลดอาการแสดงกับ Metabolite TCP ลง และเพิ่มระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดและค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารคลอไพริฟอสในกลุ่มทดลอง |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
คลอร์ไพริฟอส |
|
dc.subject |
Science and Technology |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
|
dc.subject |
โคลีนเอสเทอเรส |
|
dc.title |
ผลของโปรแกรมอาชีวสุขศึกษาและความร่วมมือต่อการได้รับสารคลอไพริฟอสของชาวนาในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
Effects of occuptionl helth eduction progrm nd collbortion on chlorpyrifos exposure of frmersin suphnburi province, thilnd |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Farmers are usually lack of caution and inconsideration in self-protective behaviors of using chlorpyrifos. Exposure directly to chlorpyrifos leading to performance decrease and illness. In present study, occupational health education program and collaboration were applied with Health Belief Model. For farmers in Suphanburi province, Thailand. The subjects were composed of 70 risk exposed farmers divided into two groups (Experiment group and Control group). This study required four weeks to conduct the study. The researcher conducted the activities of occupational health education program and collaboration in the experimental group during the first week. At pre-experiment post-experiment and follow up periods, the data on symptoms were collected. Blood samples were taken to test for blood cholinesterase enzymes. First urine samples were taken for metabolite TCP quality lab. Self-protective behaviors data from farmers who using chlorpyrifos were evaluated. Data from all three periods were analyzed for variances by using repeated measure ANOVA test, t-test and Chi-square test. The findings revealed that the subjects had a mean age of 44 years old. Most of the subjects had used chlorpyrifos for a mean of 12 years with a mean frequency of chlorpyrifos use of 9 times/ month. The subjects sprayed chlorpyrifos for a mean of three hours at pre-experimental post-experimental and follow-up, experimental group had lower symptoms affecting the neurology, respiratory, dermatological, ophthalmology and gastrointestinal systems compared to control group (p < .001). Higher blood cholinesterase enzymes were also found in experimental group which differed from the control group with statistical significance (p < .001). Metabolite TCP levels in urines were compared between the experimental group (AM = 20.94, 12.44 µg TCP/ g creatinine) and the control group (AM = 31.38, 38.38 µg TCP/ g creatinine), statistically significant differences were encountered (p < .05). Self-protective behaviors from using chlorpyrifos means were compared between the experimental group and control group, statistically significant differences were encountered (F = 4122.7, df = 1, p < .05). Therefore, the occupational health education program and collaboration for Thai farmers resulted in risks reduction in farmers who as symptoms from using chlorpyrifos reduced symptoms, metabolite TCP (3,5,6-trichloro-2-pyridinol). Moreover, self-protective behaviors and blood cholinesterase enzyme levels were raised in the experimental group. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|