Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุแหล่งที่มาและการเพิ่มกำลังทางชีวภาพของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในระบบนิเวศทางทะเลบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ซึ่งเกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในวนั ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยใช้ไอโซโทปเสถียรของคาร์บอน (δ 13C) และไนโตรเจน (δ 15N) เพื่อประเมินลำดัลการกินในห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวติที่ได้รับผลกระทบ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณ δ 13C และ δ 15N ในสิ่งมีชีวติอยู่ในช่วงระหว่าง -22.65 ถึง -10.24‰ และ 1.93 ถึง 9.22‰ ตามลำดับ โดยปริมาณ δ 13C ในแพลก์ตอนพืชต่ำสุดอยู่ที่ -22.65 ± 0.6‰ และในปลิงทะเลสูงสุดอยู่ที่-10.24 ± 0.56‰ ส่วนปริมาณ δ 15N ในสาหร่ายหน้าดินต่ำสุดอยู่ที่ 1.93‰ และในหอยสังข์หนามสูงสุดอยู่ที่ 9.22 ± 0.25‰ จากผลดังกล่าวจึงแบ่งลำดับการกินในห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศทางทะเลบริเวณอ่าวพร้าวได้ 3 ระดับชั้น ดังนี้ ผู้ผลิต (แพลงก์ตอนพืช) ผู้บริโภค อันดับที่ 1 (กลุ่มหอยสองฝา) และผู้ล่า (หอยสังข์นาม) นอกจากนี้พบว่าโครมาโทแกรมในทาร์บอลหอยครก และหอยสังข์หนาม มีความคล้ายคลึงกับโครมาโทแกรมในน้ำมันดิบที่รั่วไหลเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มกำลังทางชีวภาพของสารประกอบปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศบริเวณอ่าวพร้าว โดยผลการศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันได้ว่าหอยสังข์นาม (Chicoreus brunneus) เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ลำดับสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร และเหมาะสมสำหรับใช้เป็นสิ่งมีชีวิตในการตรวจสอบการสะสมของสารประกอบปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่ตกค้างยาวนานในระบบนิเวศทางทะเลในพื้นที่ที่เกิดการรั่วไหลของน้ำมันดิบในอนาคตได้