Abstract:
การชักนําให้เกิดยอดและการออกดอกของกุหลาบหนูในสภาพปลอดเชื้อโดยนําชิ้นส่วนข้อมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร Murashige and Skoog (1962) (MS) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนินคือ 6-Benzyladenine (BA) หรือ Thidiazuron (TDZ) หรือ Kinetin (KN) ความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิกรัม/ลิตร ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ให้แสงสว่างเป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มแสง 1,200 ลักซ์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ทุกชุดการทดลองมีการสร้างยอดเกิดขึ้น 100% โดยเฉพาะอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร มีการสร้างยอดเฉลี่ยมากที่สุด 4.50±1.93 ยอด/ชิ้นส่วน และแตกต่างกับชุดการทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในขณะที่อาหารสูตร MS ที่เติม KN ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนําให้ยอดมีความยาวเฉลี่ยมากที่สุด 5.89±2.34 มิลลิเมตร และแตกต่างกับชุดการทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และเมื่อเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนข้อของกุหลาบหนูบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับซูโครสความเข้มข้น 30, 40, 50 และ 60 กรัม/ลิตร เป็นเวลา 9 สัปดาห์ พบว่า ชิ้นส่วนข้อของกุหลาบหนูที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติมซูโครสความเข้มข้น 40 กรัม/ลิตร สามารถชักนําให้เกิดยอดเฉลี่ยได้มากที่สุด 2.29-2.77 ยอด/ชิ้นส่วน ในขณะที่อาหารสูตร MS ที่เติมซูโครสความเข้มข้น 30 กรัม/ลิตร สามารถชักนําให้ยอดมีความยาวเฉลี่ยมากที่สุด 5.10±2.35 มิลลิเมตร ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติกับชุดการทดลองอื่นและทุกชุดการทดลองไม่มีการสร้างดอกเกิดขึ้น ส่วนการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนของข้อกุหลาบหนูบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับซิลเวอร์ไนเตรท 0, 0.25,0.50, 0.75 และ 1.00 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ทุกชุดการทดลองมีการสร้างยอดเกิดขึ้น โดยมีจํานวนยอดเฉลี่ยตั้งแต่ 1.68-1.91 ยอด/ชิ้นส่วน แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติและไม่มีการสร้างดอกเกิดขึ้น สําหรับชิ้นส่วนข้อที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับซิลเวอร์ไนเตรทความเข้มข้น 1.00 มิลลิกรัม/ลิตร มีความยาวยอดเฉลี่ยสูงที่สุด 10.45±2.37 มิลลิเมตร และแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับชุดการทดลองอื่น