DSpace Repository

การชักนำให้เกิดยอดและการออกดอกของกุหลาบหนูในสภาพปลอดเชื้อ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิรศาธิญากร จันทร์ขศิราพร
dc.contributor.advisor กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์
dc.contributor.author อัมพิกา ติ๊บกวาง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:16:39Z
dc.date.available 2023-05-12T04:16:39Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7580
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การชักนําให้เกิดยอดและการออกดอกของกุหลาบหนูในสภาพปลอดเชื้อโดยนําชิ้นส่วนข้อมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร Murashige and Skoog (1962) (MS) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนินคือ 6-Benzyladenine (BA) หรือ Thidiazuron (TDZ) หรือ Kinetin (KN) ความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิกรัม/ลิตร ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ให้แสงสว่างเป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มแสง 1,200 ลักซ์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ทุกชุดการทดลองมีการสร้างยอดเกิดขึ้น 100% โดยเฉพาะอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร มีการสร้างยอดเฉลี่ยมากที่สุด 4.50±1.93 ยอด/ชิ้นส่วน และแตกต่างกับชุดการทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในขณะที่อาหารสูตร MS ที่เติม KN ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนําให้ยอดมีความยาวเฉลี่ยมากที่สุด 5.89±2.34 มิลลิเมตร และแตกต่างกับชุดการทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และเมื่อเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนข้อของกุหลาบหนูบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับซูโครสความเข้มข้น 30, 40, 50 และ 60 กรัม/ลิตร เป็นเวลา 9 สัปดาห์ พบว่า ชิ้นส่วนข้อของกุหลาบหนูที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติมซูโครสความเข้มข้น 40 กรัม/ลิตร สามารถชักนําให้เกิดยอดเฉลี่ยได้มากที่สุด 2.29-2.77 ยอด/ชิ้นส่วน ในขณะที่อาหารสูตร MS ที่เติมซูโครสความเข้มข้น 30 กรัม/ลิตร สามารถชักนําให้ยอดมีความยาวเฉลี่ยมากที่สุด 5.10±2.35 มิลลิเมตร ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติกับชุดการทดลองอื่นและทุกชุดการทดลองไม่มีการสร้างดอกเกิดขึ้น ส่วนการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนของข้อกุหลาบหนูบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับซิลเวอร์ไนเตรท 0, 0.25,0.50, 0.75 และ 1.00 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ทุกชุดการทดลองมีการสร้างยอดเกิดขึ้น โดยมีจํานวนยอดเฉลี่ยตั้งแต่ 1.68-1.91 ยอด/ชิ้นส่วน แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติและไม่มีการสร้างดอกเกิดขึ้น สําหรับชิ้นส่วนข้อที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับซิลเวอร์ไนเตรทความเข้มข้น 1.00 มิลลิกรัม/ลิตร มีความยาวยอดเฉลี่ยสูงที่สุด 10.45±2.37 มิลลิเมตร และแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับชุดการทดลองอื่น
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา
dc.subject กุหลาบหนู
dc.subject กุหลาบหนู -- การปรับปรุงพันธุ์
dc.subject การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์
dc.title การชักนำให้เกิดยอดและการออกดอกของกุหลาบหนูในสภาพปลอดเชื้อ
dc.title.alternative In vitro shoots induction nd flowering of Ros chinensis Jcq.vr. minim Voss
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative In vitro shoot induction and flowering of fairy rose (Rosa chinensis Jacq.var. minima Voss.) was conducted in sterile conditions. Nodal segments were cultured on Murashige and Skoog (1962) media supplemented with different concentrations (0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 mg/L) of 6-Benzyladenine (BA), Thidiazuron (TDZ) and Kinetin (KN) at 25±2 ºC and 16 hours of light per day with light intensity at 1,200 lux for 4 weeks. From the result, it was found that all experiment could induce shoot 100%. Moreover, it can be seen that MS supplemented with 1.5 mg/L TDZ had the highest average number of shoots (4.5 ±1.93 shoots/explant) and significantly differences from other treatments. While MS medium supplemented with 0.5 mg/L KN could induce the highest average shoot length of 5.89±2.34 mm and statistically significant differences with other groups. When nodal segment were cultured on MS medium supplemented with 1.5 mg/L TDZ and sucrose concentrations at 30, 40, 50 and 60 g/L for 9 weeks. It was found that, nodal segments were cultured on MS supplemented 40 g/L sucrose had the highest average shoot number of 2.29-2.77 shoots/explant. While MS supplemented 30 g/L sucrose could induce the highest average shoot length of 5.10±2.35 mm without statistically significant difference other groups and MS medium supplemented with sucrose at all concentrations could not induce flowering. When nodal segment were cultured on MS medium supplemented with 1.5 mg/L TDZ and silver nitrate concentrations at 0, 0.25,0.50, 0.75 and 1.00 mg/L for 6 weeks. The results showed that, all experiment could induce shoot and average shoot number without statistically significant difference (1.68-1.91 shoots/explant) and no flowering occurred. In addition, it was seen that nodal segment cultured on MS supplemented with 1.5 mg/L TDZ and 1.00 mg/L silver nitrate had the highest average shoot length of 10.45±2.37 mm. and statistically significant differences with other groups.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ชีววิทยาศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account