Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้ามาตั้งถิ่นฐานพัฒนาการวิถีชีวิต และบทบาทของชาวมอญ ตําบลบ้านม่วง อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี รวมถึงวิเคราะห์การผสมกลมกลืนของมอญจนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยโดยการใช้พลังต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนเพื่อให้ความเป็นมอญยังคงดํารงอยู่ได้ในปัจจุบันโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและนําเสนอในแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ชาวมอญ ตําบลบ้านม่วง ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งชาวมอญที่อาศัยอยู่ในตําบลบ้านม่วงนี้ ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อยู่บริเวณริมแม่น้ำแม่กลองในจังหวัดราชบุรี การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวมอญยังได้รับความเมตตาจากพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงพระราชทานพื้นที่ให้จึงทําให้ชาวมอญได้มีที่อยู่อาศัย และมีที่ทํากินมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อชาวมอญอพยพเข้ามาก็ได้มีบทบาทช่วยเหลืองานราชการของไทย อยู่เสมอและยังมีบทบาทอยู่ในราชวงศ์ของไทยด้วยจึงทําให้ชาวมอญได้เป็นที่ยอมรับจากคนในสังคมไทยและทําให้ชาวมอญได้มีวิถีที่สุขสบายมาโดยตลอด ชาวมอญตําบลบ้านม่วงแห่งนี้ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อาชีพหลักคือ การทํานา การจับสัตว์น้ำและภูมิปัญญาด้านการทอผ้า เมื่อประเทศไทยได้มีการพัฒนาประเทศเกิดขึ้น จึงทําให้วิถีชีวิตของชาวมอญเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มีวิถีชีวิตแบบพอยังชีพได้เปลี่ยนไปเป็นแบบทุนนิยมดังเช่นสังคมไทยปัจจุบันถือว่าวิถีชีวิตของชาวมอญ ได้รับผลกระทบทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในสังคมไทย จนทําให้ชาวมอญตําบลบ้านม่วงแห่งนี้ได้กลายไปเป็นคนไทยเชื้อสายมอญในที่สุด อย่างไรก็ตาม ชาวมอญที่นี่ก็ยังสามารถ ที่จะปรับตัวได้เป็นอย่างดีอันเนื่องจากการมีรูปร่างหน้าตารวมถึงการนับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับ คนไทย แต่มีข้อที่แตกต่างไปจากคนไทยคือ ภาษามอญและวัฒนธรรมความเชื่อบางประการ ดังนั้น จึงทําให้ชาวมอญแห่งนี้ยังคงมีวัฒนธรรมและประเพณีที่เข้มแข็งอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากความสามัคคีของคนในชุมชนที่ร่วมใจกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ รวมถึงพลังของชาวมอญทั้งในอดีตและพลังในปัจจุบัน ที่ทําให้ชาวมอญได้กล้าแสดงออกถึงความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง โดยการใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจากความพยายามดังกล่าวนี้ทําให้ชาวมอญตําบลบ้านม่วงสามารถที่จะดํารงอยู่ได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี