dc.contributor.advisor |
บุญเชิด หนูอิ่ม |
|
dc.contributor.advisor |
ภารดี มหาขันธ์ |
|
dc.contributor.author |
อิมธิรา อ่อนคำ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:02:47Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:02:47Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7539 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้ามาตั้งถิ่นฐานพัฒนาการวิถีชีวิต และบทบาทของชาวมอญ ตําบลบ้านม่วง อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี รวมถึงวิเคราะห์การผสมกลมกลืนของมอญจนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยโดยการใช้พลังต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนเพื่อให้ความเป็นมอญยังคงดํารงอยู่ได้ในปัจจุบันโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและนําเสนอในแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ชาวมอญ ตําบลบ้านม่วง ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งชาวมอญที่อาศัยอยู่ในตําบลบ้านม่วงนี้ ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อยู่บริเวณริมแม่น้ำแม่กลองในจังหวัดราชบุรี การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวมอญยังได้รับความเมตตาจากพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงพระราชทานพื้นที่ให้จึงทําให้ชาวมอญได้มีที่อยู่อาศัย และมีที่ทํากินมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อชาวมอญอพยพเข้ามาก็ได้มีบทบาทช่วยเหลืองานราชการของไทย อยู่เสมอและยังมีบทบาทอยู่ในราชวงศ์ของไทยด้วยจึงทําให้ชาวมอญได้เป็นที่ยอมรับจากคนในสังคมไทยและทําให้ชาวมอญได้มีวิถีที่สุขสบายมาโดยตลอด ชาวมอญตําบลบ้านม่วงแห่งนี้ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อาชีพหลักคือ การทํานา การจับสัตว์น้ำและภูมิปัญญาด้านการทอผ้า เมื่อประเทศไทยได้มีการพัฒนาประเทศเกิดขึ้น จึงทําให้วิถีชีวิตของชาวมอญเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มีวิถีชีวิตแบบพอยังชีพได้เปลี่ยนไปเป็นแบบทุนนิยมดังเช่นสังคมไทยปัจจุบันถือว่าวิถีชีวิตของชาวมอญ ได้รับผลกระทบทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในสังคมไทย จนทําให้ชาวมอญตําบลบ้านม่วงแห่งนี้ได้กลายไปเป็นคนไทยเชื้อสายมอญในที่สุด อย่างไรก็ตาม ชาวมอญที่นี่ก็ยังสามารถ ที่จะปรับตัวได้เป็นอย่างดีอันเนื่องจากการมีรูปร่างหน้าตารวมถึงการนับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับ คนไทย แต่มีข้อที่แตกต่างไปจากคนไทยคือ ภาษามอญและวัฒนธรรมความเชื่อบางประการ ดังนั้น จึงทําให้ชาวมอญแห่งนี้ยังคงมีวัฒนธรรมและประเพณีที่เข้มแข็งอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากความสามัคคีของคนในชุมชนที่ร่วมใจกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ รวมถึงพลังของชาวมอญทั้งในอดีตและพลังในปัจจุบัน ที่ทําให้ชาวมอญได้กล้าแสดงออกถึงความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง โดยการใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจากความพยายามดังกล่าวนี้ทําให้ชาวมอญตําบลบ้านม่วงสามารถที่จะดํารงอยู่ได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา |
|
dc.subject |
มอญ -- ความเป็นอยู่และประเพณี |
|
dc.subject |
มอญ -- ราชบุรี |
|
dc.title |
มอญ ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี : วิถีและพลัง |
|
dc.title.alternative |
Mon in bnmung subdistrict bnpong district rtchburi province: wy of life nd power |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this research is to educate the settlement, development, way of lifeand role of Mon in Banmuangsub-district, Banpong district, Ratchaburi province. In this research, the researcher had analyzed about the adaptive of Mon be a part of Thai’s society which using the internal power to drive forkeeping the identity until present. This research is qualitative research and present in a descriptive method. The resultof this research shown that Mon in Banmuang sub-district emigrated to Thailand during Ayutthaya era to the beginning of Rattanakosin era. For the first of Mon at Banmuang sub-district was emigrated to settle in this area of Mekong river, Ratchaburi province. That settlement was being helped by the king of Thailand to donate the land for settlement and be a work base until now. When Mon already emigrated to Thailand, there has a role to help Thai government and Thai royal until therehas been accepted by Thai society. From this cause, Mon has a good way of life until now. For Mon at Banmuang Sub-district has a simple life, the main business is a farmer, fisheries, and craft man.While Thailand has developed, the way of life of Mon has been changed from simple life as the past to a capitalism as same as Thai society.This cause has affected not only an external cause but also internal cause of Mon that changed the way of life of Mon merged to Thai-Mon. Whatever, for Morn at Banmuang, there has a well adaptive because they have a similar looking as Thai and they respect to Buddhism. But they have another different thingas Mon Language and some unique belief.As for this reason, Mon has still conserved the own culture and tradition until now. The unite of Morn communityhas conserved the own race. The power of Mon’s life is spreading many kinds of media. In the result, Mon in Banmuang sub-district has been lived with Thai Society until now. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
ไทยศึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|