Abstract:
ความหลากชนิดและความชุกชุมของมดที่หากินตามพื้นดินในระบบเกษตรกรรมเขตร้อน กรณีศึกษาจังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย ได้ทำการศึกษาในเขตพื้นที่สวนทุเรียน สวนมังคุด และสวนยางพาราระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 โดยสำรวจภาคสนามเดือนละครั้งด้วยวิธีเก็บตัวอย่าง 4 วิธี ได้แก่ การใช้กับดักหลุมกับดักเหยื่อทูน่ากับดักเหยื่อน้ำหวาน และการร่อนเศษใบไม้ ผลการศึกษาพบมดทั้งหมดจำนวน 110,122 ตัว แบ่งเป็นสวนทุเรียน 49,998 ตัว สวนมังคุด 35,724 ตัว และสวนยางพารา 24,700 ตัว โดยสามารถจัดจำแนกในระดับชนิดออกเป็น 37 ชนิด ใน 29 สกุล และ 7 วงศ์ย่อย ได้แก่ Dolichoderinae, Dorylinae, Ectatomminae, Formicinae, Myrmicinae, Ponerinae และ Pseudomyrmecinae สวนมังคุดพบจำนวนชนิดมดมากที่สุด (30 ชนิด ใน 26 สกุล 6 วงศ์ย่อย) รองลงมาคือ สวนทุเรียน (23 ชนิด ใน 21 สกุล 5 วงศ์ย่อย) และสวนยางพารา (20 ชนิด ใน 18 สกุล 6 วงศ์ย่อย) วงศ์ย่อย Myrmicinae เป็นวงศ์ย่อยที่มีจำนวนสกุลและจำนวนชนิดมากที่สุด (12 ชนิด 9 สกุล) รองลงมาคือ วงศ์ย่อย Formicinae (9 ชนิด 7 สกุล) และวงศ์ย่อย Ponerinae (7 ชนิด 5 สกุล) เมื่อพิจารณาตามวิธีเก็บตัวอย่าง พบว่า วิธีการวางกับดักหลุมเป็นวิธีที่ได้จำนวนวงศ์ย่อยสกุล และชนิดได้สูงสุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น โดยสามารถรวบรวมมดได้ทั้งหมด 7 วงศ์ย่อย 36 ชนิด 28 สกุลคิดเป็นร้อยละ 97.30 ของจำนวนชนิดมดทั้งหมด จากการศึกษาดัชนีโครงสร้างทางชีวภาพของชุมชีพมด พบว่า ค่าเฉลี่ยของดัชนีความหลากหลายของ Shannon (H') ดัชนีความสม่ำเสมอ (E') และดัชนีความหลากหลายของ Simpson(D') ของมดในพื้นที่สวนทุเรียนมีค่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่สวนมังคุดและสวนยางพารา เมื่อพิจารณาถึงจำนวนตัวมดในแต่ละชนิด พบว่า มด Carebaraaffinis มด Anoplolepis gracilipesและมด Pheidole sp. เป็นชนิดพันธุ์เด่นที่พบในสวนทุเรียน สวนมังคุด และสวนยางพารา ตามลำดับ นอกจากนี้ยัง พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนของชนิดมดมีค่าสูงสุดในระหว่างพื้นที่สวนทุเรียนและสวนมังคุด คิด เป็นร้อยละ 65 ขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนของชนิดมดมีค่าต่ำสุดในระหว่างสวนมังคุดและสวนยางพารา คิดเป็นร้อยละ 61 ผลการศึกษาทั้งหมดในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความหลากชนิดความชุกชุม และองค์ประกอบทางชนิดของกลุ่มสังคมมดมีความแปรผันไปตามรูปแบบของการทำเกษตรกรร