Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษารูปแบบคติสัญลักษณ์ของกลองมโหระทึก ในประเทศกลุ่มลุ่มน้ำโขง ที่ปรากฏตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2. วิเคราะห์ถึงบทบาทของกลองมโหระทึกในวิถีชีวิตคนในสังคมเกษตรกรรมลุ่มน้ำโขงและ 3. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงบทบาท และสถานภาพของกลองมโหระทึกในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์สืบสาน และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้ดํารงอยู่สืบไปโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์และนําเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่ากลองมโหระทึกเป็นมรดกภูมิปัญญาที่สืบสานขับเคลื่อนเชื่อมโยงทางด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างภาคใต้ของประเทศจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลองมโหระทึก ได้แพร่กระจายอยู่ในภาคใต้ของประเทศจีนและบรรดาประเทศอาเซียน ได้แก่ ประเทศจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชาและเวียดนาม บทบาทสําคัญคือการใช้ประกอบในพิธีกรรมตามความเชื่อที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นสัญลักษณ์ของอํานาจเกียรติยศ ความร่ํารวย ฐานันครการใช้สำหรับส่งอาณัติสัญญาณในการระดมพลการสงคราม การแจ้งข่าว รวมถึงการใช้เป็นเครื่องดนตรีในงานบันเทิงและงานประเพณีต่าง ๆ ด้วยปัจจุบันแม้ว่ากลองมโหระทึกจะยังมีใช้อยู่ทั้งในงานพระราชพิธีประเพณีสําคัญ รวมถึงการใช้ในการประกอบพิธีกรรมของกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ของหลายประเทศ ทว่าได้ลดบทบาทและความสําคัญลงที่สําคัญยังคงอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญหาย อย่างมากทั้งในมิติของศิลปะรวมถึงวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกลองมโหระทึกที่เกิดขึ้นทั่วไปในกลุ่มประเทศที่ทําการศึกษา ดังนั้นจึงควรมีการนําผลวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์สืบทอด และฟื้นฟูวัฒนธรรมกลองมโหระทึกให้ดํารงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อไป