Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาคําสู่ขวัญของชาวไทยเลย อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ในด้านประเภทโครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ของคําสู่ขวัญ โดยผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลมาจากหมอสู่ขวัญและเอกสารที่บันทึกคําสู่ขวัญ จํานวน 39 บท ผลการวิจัยพบว่า คําสู่ขวัญของชาวไทยเลย อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จําแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ คําสู่ขวัญคน คําสู่ขวัญสัตว์คําสู่ขวัญพระพุทธรูป และคําสู่ขวัญวัตถุสิ่งของ โครงสร้าง ของคําสู่ขวัญประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ ส่วนนํา ส่วนดําเนินเรื่อง และส่วนท้ายบทบาทหน้าที่ของคําสู่ขวัญมี 5 ประการ ได้แก่ 1. บทบาทหน้าที่ในการอธิบายเหตุผลในการกระทําพิธีกรรม มี 7 เหตุผล ได้แก่ เหตุผลในการสู่ขวัญพระพุทธรูป เหตุผลในการสู่ขวัญคน เหตุผลในการสู่ขวัญนาค เหตุผลในการสู่ขวัญในการทํานา เหตุผลในการสู่ขวัญสัตว์ เหตุผลในการสู่ขวัญบ้านเรือน และเหตุผลในการสู่ขวัญพาหนะ 2. บทบาทหน้าที่ในการให้การศึกษาในสังคมที่ใช้ ประเพณีบอกเล่า มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการปลูกเรือน และการถ่ายทอดประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีการเกิดและประเพณีการแต่งงาน 3. บทบาทหน้าที่ในการรักษามาตรฐานทางพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนของสังคมเป็นไปตามคลองสิบสี่ 6 ประการ ได้แก่ การทําหน้าที่ของผู้ปกครองบ้านเมือง การทําหน้าที่ของพระสงฆ์ การทําหน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร การทําหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา การทําหน้าที่ของสามีและภรรยา และการทําหน้าที่ของบุตรเขยและบุตร สะใภ้ 4. บทบาทหน้าที่ในการให้ความเพลิดเพลินและเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจของบุคคล มี 2 ประการ ได้แก่ บทบาทหน้าที่ในการให้ความเพลิดเพลินและบทบาทหน้าที่ในการระบายความคับข้องใจของบุคคล 5. บทบาทหน้าที่ในการให้ความสะเทือนอารมณ์ที่เกิดจากการใช้ภาษา ได้แก่ การใช้คํา การใช้ความเปรียบ ความสะเทือนอารมณ์ที่เกิดจากเนื้อหา ได้แก่ เนื้อหาที่แสดงความน่าเวทนา เนื้อหาที่แสดงความลําบาก และเนื้อหาที่แสดงความน่ากลัว คําสู่ขวัญของชาวไทยเลย อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย นอกจากจะแสดงให้เห็นอุปนิสัย ค่านิยมและวิถีชีวิตของชาวไทยเลย อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ยังมีบทบาทหน้าที่ในการบํารุงรักษา สังคมของชาวไทยเลย อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ให้คงเอกภาพและเอกลักษณ์จนถึงปัจจุบัน