dc.contributor.advisor | ทัศนีย์ ทานตวณิช | |
dc.contributor.advisor | ณัฐา ค้ำชู | |
dc.contributor.author | ชยุตรา สุโขยะไชย | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:08:54Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:08:54Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6577 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาคําสู่ขวัญของชาวไทยเลย อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ในด้านประเภทโครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ของคําสู่ขวัญ โดยผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลมาจากหมอสู่ขวัญและเอกสารที่บันทึกคําสู่ขวัญ จํานวน 39 บท ผลการวิจัยพบว่า คําสู่ขวัญของชาวไทยเลย อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จําแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ คําสู่ขวัญคน คําสู่ขวัญสัตว์คําสู่ขวัญพระพุทธรูป และคําสู่ขวัญวัตถุสิ่งของ โครงสร้าง ของคําสู่ขวัญประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ ส่วนนํา ส่วนดําเนินเรื่อง และส่วนท้ายบทบาทหน้าที่ของคําสู่ขวัญมี 5 ประการ ได้แก่ 1. บทบาทหน้าที่ในการอธิบายเหตุผลในการกระทําพิธีกรรม มี 7 เหตุผล ได้แก่ เหตุผลในการสู่ขวัญพระพุทธรูป เหตุผลในการสู่ขวัญคน เหตุผลในการสู่ขวัญนาค เหตุผลในการสู่ขวัญในการทํานา เหตุผลในการสู่ขวัญสัตว์ เหตุผลในการสู่ขวัญบ้านเรือน และเหตุผลในการสู่ขวัญพาหนะ 2. บทบาทหน้าที่ในการให้การศึกษาในสังคมที่ใช้ ประเพณีบอกเล่า มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการปลูกเรือน และการถ่ายทอดประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีการเกิดและประเพณีการแต่งงาน 3. บทบาทหน้าที่ในการรักษามาตรฐานทางพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนของสังคมเป็นไปตามคลองสิบสี่ 6 ประการ ได้แก่ การทําหน้าที่ของผู้ปกครองบ้านเมือง การทําหน้าที่ของพระสงฆ์ การทําหน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร การทําหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา การทําหน้าที่ของสามีและภรรยา และการทําหน้าที่ของบุตรเขยและบุตร สะใภ้ 4. บทบาทหน้าที่ในการให้ความเพลิดเพลินและเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจของบุคคล มี 2 ประการ ได้แก่ บทบาทหน้าที่ในการให้ความเพลิดเพลินและบทบาทหน้าที่ในการระบายความคับข้องใจของบุคคล 5. บทบาทหน้าที่ในการให้ความสะเทือนอารมณ์ที่เกิดจากการใช้ภาษา ได้แก่ การใช้คํา การใช้ความเปรียบ ความสะเทือนอารมณ์ที่เกิดจากเนื้อหา ได้แก่ เนื้อหาที่แสดงความน่าเวทนา เนื้อหาที่แสดงความลําบาก และเนื้อหาที่แสดงความน่ากลัว คําสู่ขวัญของชาวไทยเลย อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย นอกจากจะแสดงให้เห็นอุปนิสัย ค่านิยมและวิถีชีวิตของชาวไทยเลย อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ยังมีบทบาทหน้าที่ในการบํารุงรักษา สังคมของชาวไทยเลย อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ให้คงเอกภาพและเอกลักษณ์จนถึงปัจจุบัน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ขวัญและการทำขวัญ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาไทย | |
dc.subject | บายศรีสู่ขวัญ | |
dc.subject | ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี | |
dc.title | โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของคำสู่ขวัญของชาวไทยเลยอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย | |
dc.title.alternative | Structures nd functions of Thi Loei’s khmsookhwn in Muengloei district, Loei province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to study the structure and functions of Thai Loei Khamsookhwan (Blessing Words) of Thai Loei people in MueangLoei District, Loei Province. The data were collected from ritual masters and 39 pieces of Khamsookhwan record. It was found that Khamsookhwan of Thai Loei people could be grouped into 4 categories: Khamsookhwan of human beings, Khamsookhwan of animals, Khamsookhwan of Buddha images, and Khamsookhwan of objects. The structure of Khamsookhwan of Thai Loei consisted of 3 parts: introduction, body, and conclusion. The Khamsookhwan served 5 functions: 1. explaining purposes of the ritual, 2. educating people, 3. maintaining desirable social norms, 4. entertaining people and releasing frustration, and 5. creating emotions through language use. For the first function-explaining purposes of the ritual, it was found that there were 7 purposes for conducting the ritual: to consecrate the Buddha image, to welcome people, to bless a man who was to be ordained, to mark the start of ricefarming, to bless an animal, to warm a house, and to bless a new vehicle. For the second functioneducating people, it was found that the Khamsookhwan passed on the local wisdom of building construction and local tradition of birth and marriage. For the third function-maintaining desirable social norms, it was found that the Khamsookhwan described 6 pillars of Isan good conduct (Klong Sib See: 14 good conducts of the northeast) including ruler’s duties, Buddhist monk’s duties, parenthood, lineage’s duties, duties of husband and wife, and duties of son- and daughter-in-law. The fourth function was to entertain people and to provide people a way to release their frustration. The fifth function-creatingemotions through language use, it was found that the language use in Khamsookhwan for creating people’s emotions could be divided into three forms: word choice, metaphor, and narration of arduousness and dreadfulness. Khamsookhwan of Thai Loei people in MueangLoei District, Loei Province not only portrayed behaviors, values, and ways of life of the Thai Loei people, but also preserved unity and identity of Thai Loei people until the present days. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |