Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวรรณกรรมกลอนนิทานเรื่องพระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary research) ต้นฉบับกลอนนิทานเรื่องนี้ เป็นสมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทยโบราณ จํานวน ๑ ฉบับ ๑๔๒ หน้าสมุดไทย ปัจจุบันต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่วัดไทรทอง จังหวัดตราด ผู้วิจัยนําต้นฉบับมาปริวรรตแล้วศึกษา การนําเสนออารมณ์สะเทือนใจในฐานะนิราศวรรณคดี ๒ ประเด็น ได้แก่ กลวิธีการสร้างเรื่องและกลวิธีทางวรรณศิลป์ นําเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ การวิจัยพบว่า กลวิธีนําเสนออารมณ์สะเทือนใจในวรรณกรรมกลอนนิทานเรื่อง พระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด นําเสนอโดยการสร้างความโศก ๒ กลวิธีคือ กลวิธีการสร้างเรื่องเพื่อให้เป็นนิราศวรรณคดีและกลวิธีทางวรรณศิลป์เพื่อนําเสนออารมณ์สะเทือนใจ กลวิธีการสร้างเรื่องเพื่อให้เป็นนิราศวรรณคดีกวีใช้ ๓ กลวิธี ได้แก่ ๑. การสร้างโครงเรื่อง ด้วยการผูกปมปัญหาให้ตัวละครเอกพลัดพราก ทั้งพลัดพรากจากคนรัก จากมารดา จากบุตร จากพี่น้อง และจากบ้านเมือง ๒. การสร้างและการนําเสนอตัวละครที่เอื้อต้อการสร้างความโศกกวีสร้างตัวละครที่ถูกกระทําทั้งจากธรรมชาติ อมนุษย์ และมนุษย์ ทําให้ต้องตกทุกข์ได้ยาก และสร้างตัวละครให้ถูกกลั่นแกล้งรังแกจากผู้อื่น และนําเสนอตัวละครแบบผู้รู้และนําเสนอตัวละครโดย ตัวละครอื่น ๓. การนําเสนอความโศกร่วมกับความรู้สึกอื่น ได้แก่ ความโศกร่วมกับความรัก ความโศก ร่วมกับความกลัว ด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์เพื่อนําเสนออารมณ์สะเทือนใจกวีใช้ ๒ วิธี คือ การสรรคําและ การสร้างความเปรียบและการใช้บทพรรณนา ดังนี้ ๑. การสรรคําและการสร้างความเปรียบ กวี สรรคําที่มีเสียงสัมผัสทั้งสัมผัสสระและพยัญชนะ สรรคําซ้ำ คําซ้อน และคําพ้องเสียง ใช้ความเปรียบ ประเภทอุปมา อติพจน์และการอ้างถึง ๒. การใช้บทพรรณนาเพื่อนําเสนออารมณ์สะเทือนใจพบ ๒ ประเภท ได้แก่ การใช้บทพรรณนาฉากธรรมชาติและการใช้บทพรรณนาฉากบ้านเมือง โดยพบ ๒ ลักษณะคือ กวีใช้บทพรรณนาฉากอันเป็นเหตุให้เกิดความพลัดพราก และการใช้บทพรรณนาฉากที่ เสริมความโศกอันเกิดจากการพลัดพราก กลวิธีทางวรรณศิลป์เหล่านี้เป็นปัจจัยที่นําเสนออารมณ์ สะเทือนใจให้เกิดแก่ผู้อ่านด้วยกลวิธีการนําเสนออารมณ์สะเทือนใจดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าวรรณกรรม กลอนนิทานเรื่องพระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด เป็นนิราศวรรณคดี