DSpace Repository

วรรณกรรมกลอนนิทานเรื่องพระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด : การนำเสนออารมณ์สะเทือนใจในฐานะ "นิราศวรรณคดี"

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทัศนีย์ ทานตวณิช
dc.contributor.advisor ณัฐา ค้ำชู
dc.contributor.author วลัยลักษณ์ สิตไทย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:08:54Z
dc.date.available 2023-05-12T03:08:54Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6576
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวรรณกรรมกลอนนิทานเรื่องพระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary research) ต้นฉบับกลอนนิทานเรื่องนี้ เป็นสมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทยโบราณ จํานวน ๑ ฉบับ ๑๔๒ หน้าสมุดไทย ปัจจุบันต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่วัดไทรทอง จังหวัดตราด ผู้วิจัยนําต้นฉบับมาปริวรรตแล้วศึกษา การนําเสนออารมณ์สะเทือนใจในฐานะนิราศวรรณคดี ๒ ประเด็น ได้แก่ กลวิธีการสร้างเรื่องและกลวิธีทางวรรณศิลป์ นําเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ การวิจัยพบว่า กลวิธีนําเสนออารมณ์สะเทือนใจในวรรณกรรมกลอนนิทานเรื่อง พระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด นําเสนอโดยการสร้างความโศก ๒ กลวิธีคือ กลวิธีการสร้างเรื่องเพื่อให้เป็นนิราศวรรณคดีและกลวิธีทางวรรณศิลป์เพื่อนําเสนออารมณ์สะเทือนใจ กลวิธีการสร้างเรื่องเพื่อให้เป็นนิราศวรรณคดีกวีใช้ ๓ กลวิธี ได้แก่ ๑. การสร้างโครงเรื่อง ด้วยการผูกปมปัญหาให้ตัวละครเอกพลัดพราก ทั้งพลัดพรากจากคนรัก จากมารดา จากบุตร จากพี่น้อง และจากบ้านเมือง ๒. การสร้างและการนําเสนอตัวละครที่เอื้อต้อการสร้างความโศกกวีสร้างตัวละครที่ถูกกระทําทั้งจากธรรมชาติ อมนุษย์ และมนุษย์ ทําให้ต้องตกทุกข์ได้ยาก และสร้างตัวละครให้ถูกกลั่นแกล้งรังแกจากผู้อื่น และนําเสนอตัวละครแบบผู้รู้และนําเสนอตัวละครโดย ตัวละครอื่น ๓. การนําเสนอความโศกร่วมกับความรู้สึกอื่น ได้แก่ ความโศกร่วมกับความรัก ความโศก ร่วมกับความกลัว ด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์เพื่อนําเสนออารมณ์สะเทือนใจกวีใช้ ๒ วิธี คือ การสรรคําและ การสร้างความเปรียบและการใช้บทพรรณนา ดังนี้ ๑. การสรรคําและการสร้างความเปรียบ กวี สรรคําที่มีเสียงสัมผัสทั้งสัมผัสสระและพยัญชนะ สรรคําซ้ำ คําซ้อน และคําพ้องเสียง ใช้ความเปรียบ ประเภทอุปมา อติพจน์และการอ้างถึง ๒. การใช้บทพรรณนาเพื่อนําเสนออารมณ์สะเทือนใจพบ ๒ ประเภท ได้แก่ การใช้บทพรรณนาฉากธรรมชาติและการใช้บทพรรณนาฉากบ้านเมือง โดยพบ ๒ ลักษณะคือ กวีใช้บทพรรณนาฉากอันเป็นเหตุให้เกิดความพลัดพราก และการใช้บทพรรณนาฉากที่ เสริมความโศกอันเกิดจากการพลัดพราก กลวิธีทางวรรณศิลป์เหล่านี้เป็นปัจจัยที่นําเสนออารมณ์ สะเทือนใจให้เกิดแก่ผู้อ่านด้วยกลวิธีการนําเสนออารมณ์สะเทือนใจดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าวรรณกรรม กลอนนิทานเรื่องพระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด เป็นนิราศวรรณคดี
dc.language.iso th
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject วรรณกรรม -- แง่สังคม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาไทย
dc.subject วรรณกรรม
dc.title วรรณกรรมกลอนนิทานเรื่องพระบรวงศ์ทรงสกัน ฉบับวัดไทรทอง จังหวัดตราด : การนำเสนออารมณ์สะเทือนใจในฐานะ "นิราศวรรณคดี"
dc.title.alternative Phrborwong songskn poetic tle, sithong temple version, trd province: study s literry-inspired nirt
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This documentary research aimed atstudying “PhraborawongSongsakan Poetic Tale, Saithong Temple Version, Trad Province”. The original of this poetic talecontained with142 pages ofscroll, Thai. They were written with Thai characterin ancient language.A researcher had transformed them to modernizationand studiedfor 2 aspects of literary-inspired as Nirat literature: the strategy of plot device and literary device. The result was reported through the descriptive analyses. This study is a descriptive analysis of emotion creation in a poetic tale named Phraborawong Songsakan version of Saithong Temple in Trad province. The findings show that the emotion in the studied story was created through 2 techniques: story creation technique and rhetorical technique. The story creation technique was presented through 3 elements: 1. plot, 2. characters, and 3. the presentation of sorrow with other emotions. For plot, complications plots were created for the characters to be parted from lover, mother, children, siblings, retinue, and homeland. For character, the characters were tortured and hazed, the poet created different characters such as a characterwho suffered from any curses by nature, inhuman, and human and the characters were presented through both direct and indirect presentations. For the presentation of sorrow with other emotions , sorrow with love, sorrow with fear. The rhetorical technique was presented through 2 means: 1. word choice and figure of speech and 2. narrative. For word choice, alliteration and assonance were used for rhyme creation; in addition, figure of speech was used for image creation. For narrative, separation of character was narrated through image of nature as a cause of being parted. The way of presenting Phraborawong songsakan poetic tale, Saithong temple version, Trad provinc with the analysis of emotion technique mentioned above can be clim as a literary-inspired nirat.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ภาษาไทย
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account