Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประงค์เพื่อศึกษาแนวคิดความเป็นสากลในกวีนิพนธ์ไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์ พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๕๖ จำนวน ๑๒ เรื่อง ได้แก่ เพียงความเคลื่อนไหวของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นาฏกรรมบนลานกว้างของคมทวน คันธนูปณิธานกวีของอังคาร กัลยาณพงศ์ใบไม้ที่หายไป ของจิระนันท์ พิตรปรีชา มือนั้นสีขาวของศักดิ์สิริมีสมสืบ ม้าก้านกล้วยของไพวรินทร์ ขาวงาม ในเวลาของแรคํา ประโดยคํา บ้านเก่าของโชคชัย บัณฑิต แม่น้ำรําลึก ของเรวัตร พันธุ์-พิพัฒน์ โลกในดวงตาข้าพเจ้าของมนตรี ศรียงค์ ไม่มีหญิงสาว ในบทกวีของซะการีย์ยา อมตยา และหัวใจห้องที่ห้า ของอังคาร จันทาทิพย์ ผลการวิจัยพบว่า กวีนิพนธ์ไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์มีแนวคิดความเป็นสากล แบ่งได้ ๑๐ ประเภท ได้แก่ โศกนาฏกรรมทางการเมือง สงคราม และความทรงจําร่วมทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม การเปลี่ยนแปลงของสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ สันติภาพ การต่อสู้กับความอธรรมความไม่เท่าเทียมกันในสังคม และสิทธิสตรี การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดความเป็นสากลในกวีนิพนธ์ไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์ พบว่า กวีนิพนธ์ไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์ จํานวน ๑๒ เรื่อง มีบทกวีนิพนธ์ จํานวน ๔๔๒ บท มีแนวคิดความเป็นสากล จํานวน ๒๙๖ บท และมีแนวคิดเฉพาะปัจเจกบุคคล จำนวน ๑๔๖ บท แนวคิดความเป็นสากลในกวีนิพนธ์ไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์เป็แนวคิดที่มีความสัมพันธ์กับสังคมโลกเพราะเนื้อหาและแนวคิดในบทกวีที่สื่อความหมายนั้นล้วนมีปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นส่วนที่เชื่อมโยงถึงกัน ไม่ว่าจะชนชาติใด เชื้อชาติใด จึงรับรู้สึกได้เช่นเดียวกัน