Abstract:
การเปรียบเทียบการดูดซับของเสียไนโตรเจนของเม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลที่ขึ้นรูปร่วมกับ
ถ่านกัมมันต์ และซีโอไลต์ในระดับความเข้มข้นต่างกัน อัลจิเนตไฮโดรเจลขึ้นรูปร่วมกับถ่านกัมมันต์
และซีโอไลต์ ที่ระดับความเข้มข้น 0% 5% 10% 25% และ 50% โดยแต่ละการทดลองใช้เม็ด
อัลจิเนต 2 กรัม / ลิตร และตรวจสอบการดูดซับไนโตรเจนที่เวลา 1, 1.30 และ 2 ชั่วโมง ผลการวิจัย
พบว่าถ่านกัมมันต์ที่มีความเข้มข้น 50% มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดซับแอมโมเนียรวม ไนไตรท์
และไนเตรทในน้ำ ในขณะที่ซีโอไลต์ 50% และ 25% ที่ขึ้นรูปร่วมกับอัลจิเนตไฮโดรเจล มี
ประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดซับแอมโมเนียรวม และไนไตรท์ ในขณะที่ 5% ของซีโอไลต์ดีที่สุดสำหรับการดูดซับไนเตรท จากนั้นทดลองใช้เม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลที่ขึ้นรูปด้วยผงถ่านกัมมันต์ และซีโอไลต์ ที่ความเข้มข้น 25% ขนาด 2 กรัมในการขนส่งปลาหางนกยูง และปลาทอง ปลาจะบรรจุในถุงพลาสติกและขนส่งเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ที่ความหนาแน่น 50 ตัว และ 3 ตัว ต่อน้ำ 1 ลิตร ตามลำดับ หลังจากการขนส่ง ปลาจะถูกปล่อยไว้ในแท้งนำ้ ขนาด 50 ลิตร เป็นเวลา 7 วัน ปริมาณแอมโมเนีย ไนไตร์ทและไนเตรท ลดลงหลังจากใช้เม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลที่ขึ้นรูปด้วยผงถ่านกัมมันต์ และซีโอไลต์ อัตราการรอดตายของปลาในกลุ่มควบคุมต่ำกว่าในกลุ่มทดลอง การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าเม็ดอัลจิเนตไฮโดรเจลที่ขึ้นรูปด้วยผงถ่านกัมมันต์ และซีโอไลต์สามารถใช้ในการขนส่งปลาสวยงามได้