DSpace Repository

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัดย่อยจากใบเสม็ดแดงในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา)

Show simple item record

dc.contributor.author ชัชวิน เพชรเลิศ
dc.contributor.author เอกรัฐ ศรีสุข
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-01T04:20:06Z
dc.date.available 2022-05-01T04:20:06Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4328
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 th_TH
dc.description.abstract เสม็ดแดงเป็นพืชที่พบได้ทั่วไปในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตโครงการพัฒนา ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จังหวัดจันทบุรี พืชชนิดนี้ถูกใช้เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับป้องกันและรักษาโรคได้หลายโรค มีรายงานก่อนหน้านี้ซึ่งทำในส่วนสกัดน้ำร้อนแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาถึงสารที่เป็นองค์ประกอบในเสม็ดแดงที่มีฤทธิ์ดังกล่าว ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการที่จะทำการศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในส่วนสกัดย่อยและแฟรกชันย่อยต่าง ๆ ของใบเสม็ดแดงหลังจากที่ผ่านการทำโครมาโตกราฟีแบบคอลัมน์โดยอาศัยคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระเป็นตัวนำทางในการทำบริสุทธิ์สาร และเปรียบเทียบฤทธิ์ดังกล่าวกับสารสกัดหยาบ จากผลการทดลอง พบว่า ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทมีปริมาณฟีนอลรวมสูงที่สุด (151.458 ± 1.360 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิก/กรัมของส่วนสกัด) และยังสามารถกำจัดอนุมูล DPPH ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (EC50 = 0.071 ± 0.002 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการให้อิเล็กตรอนได้ค่อนข้างดี โดยมีค่า FRAP เท่ากับ 890.885 ± 4.724 มิลลิกรัมสมมูลของ Trolox/กรัมของส่วนสกัด ดังนั้น ส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทจึงถูกเลือกที่จะนำไปแยกด้วยคอลัมน์ต่อไป หลังจากผ่านคอลัมน์แล้ว แฟรกชันที่มีฤทธิ์ยังคงมีความสามารถในการกำจัดอนุมูล DPPH ได้สูงขึ้น (94.36%) และมีค่า FRAP เท่ากับ 767.373 ± 3.272 มิลลิกรัมสมมูลของ Trolox/กรัมของส่วนสกัด th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ใบเสม็ดแดง th_TH
dc.subject สมุนไพร -- การใช้ประโยชน์ th_TH
dc.subject พืชสมุนไพร -- การใช้รักษา th_TH
dc.title ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัดย่อยจากใบเสม็ดแดงในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) th_TH
dc.title.alternative Antioxidant activities of Syzygium gratum(Wight )S.N. Mitravar. gratum subextracts from Ban Ang-Ed Official Community Forest Project (The Chaipattana Foundation) en
dc.type Research th_TH
dc.author.email chatchaw@buu.ac.th th_TH
dc.author.email ekaruth@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum (Sameddang) is often found in the Eastern region of Thailand. It is an indigenous plant collected from Ban Ang-Ed Official Community Forest Project, Chantaburi province. It has been used in healthcare to prevent several diseases by traditional folklore. In addition, a previous report of this plant in form of the hot water extract showed high antioxidant activities, but there is still no study of the antioxidant activity of bioactive compound from this plant. Therefore, this work aimed to evaluate the bioactive compounds by determining the total phenolic content, and the antioxidant activity from sub-extracts and sub-fractions after purification via TLC and column chromatography compared with the crude extract. For the result of S. gratum, ethyl acetate extract had the highest total phenolic contents with 151.458 ± 1.360 mg GAE/g extract, and it could remarkably inhibit DPPH radical (EC50 = 0.071 ± 0.002 mg/mL). In addition, it was also expressed the highest FRAP value of 890.885 ± 4.724 mg TE/g extract. The results suggested that the ethyl acetate extract showed high antioxidant activity. Thus, this extract was selected to further isolate by column chromatography. After isolation, active fractions from S. gratum had still high DPPH radical scavenging activity (94.36%) and FRAP value of 767.373 ± 3.272 mg TE/g extract. en
dc.keyword สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account