DSpace Repository

การพัฒนาแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและการฟื้นฟูสภาพที่ปนเปื้อนด้วยสารกลุ่มปิโตรเคมี

Show simple item record

dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.author วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-04-27T13:57:03Z
dc.date.available 2021-04-27T13:57:03Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4058
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเลียมและการฟื้นฟูสภาพที่ปนเปื้อนด้วยสารกลุ่มปิโตรเคมี ในปีที่ 3 ทำการศึกษาถึงผลของ แหล่งคาร์บอน ไนโตรเจน ค่าความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ความเค็ม และความเข้มข้นของหัวเชื้อที่ เหมาะสมต่อการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ SE1 และทำ การตรวจวัดปริมาณสารลดแรงตึงผิวชีวภาพวิธี Oil displacement test รวมทั้งทำการศึกษาถึง ปริมาณและค่าความตึงผิวของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพกลุ่มลิโปเปปไทด์ที่ผลิตได้จากแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 โดยเครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC) และ เครื่อง Surface Tension Meter ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมต่อ การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพของแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 ได้แก่ อาหารเลี้ยงเชื้อ Mineral salt medium ที่เติม 1% (v/v) น้ำตาลกลูโคส ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 7 ค่าความ เค็มของอาหารเลี้ยงเชื้อ 0% โซเดียมคลอไรด์ ความเข้มข้นของหัวเชื้อ 108 CFU/mL และบ่มที่ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ในการเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 พบว่ามีการผลิต สารลดแรงตึงผิวชีวภาพกลุ่มลิโปเปปไทด์ เท่ากับ 66.00  1.54 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีค่าความตึงผิวอยู่ระหว่าง 32.35 มิลลินิวตันต่อเมตร ถึง 24.87 มิลลินิวตันต่อเมตร โดยมีความเข้มข้นต่ำสุดของ สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ทำให้เกิดการฟอร์มตัวของไมเซลล์ที่ความเข้มข้นของส่วนใสเท่ากับ 7.11% และมีความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวกลุ่มลิโปเปปไทด์ที่พบในส่วนใสเท่ากับ 4.69 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นพบว่าแบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SE1 น่าจะเป็นแบคทีเรียที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการ ฟื้นฟูสภาพในสิ่งแวดล้อมและนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการ Oil recovery ในบ่อเก็บกักน้ำมันโดย วิธีการที่เรียกว่า Biostimulation ด้วยสภาวะที่เหมาะสมจากการศึกษาในครั้งนี้ th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ th_TH
dc.subject แบคทีเรีย th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมปิโตรเลียม th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การพัฒนาแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและการฟื้นฟูสภาพที่ปนเปื้อนด้วยสารกลุ่มปิโตรเคมี th_TH
dc.title.alternative Development of biosurfactant producing bacteria for application of petroleum industry and bioremediation of petroleum materials en
dc.type Research th_TH
dc.author.email subunti@buu.ac.th th_TH
dc.author.email verapong@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative Research entitled “Development of biosurfactant producing bacteria for application of petroleum industry and bioremediation of petroleum materials” in the third fiscal year was established. This study focused on evaluation of optimal conditions, e.g. carbon source, pH, temperature, salinity and inoculum size, for biosurfactant production of Bacillus subtilis SE1 using an oil displacement technique. In addition, quantity and surface tension value of lipopeptide biosurfactant produced by B. subtilis SE1 were also investigated using a high performance liquid chromatography and a surface tension meter, respectively. Results showed that an optimal condition for biosynthesis of biosurfactant by B. subtilis SE1 included adding 1% (v/v) glucose in mineral salt medium, 108 CFU/mL of inoculation size and incubating at 30 C. Under this condition, B. subtilis SE1 could produce 66.00  1.54 mg/L lipopeptide biosurfactant and provide surface tension values ranging from 32.35 to 24.87 mN/m. Minimal concentration of biosurfactant at which micelles begin to form was 7.11% and lipopeptide-biosurfactant concentration found in supernatant was 4.69 mg/L. Therefore, B. subtilis SE1 is likely to be applied in environmental bioremediation and in an oil recovery method in oil reservoirs, called as biostimulation technology, under optimal condition in this study. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account