DSpace Repository

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระหลังจากถูกย่อยและดูดซึมผ่านเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ของน้ำชาขลู่

Show simple item record

dc.contributor.author ชัชวิน เพชรเลิศ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-04-02T13:59:04Z
dc.date.available 2019-04-02T13:59:04Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3463
dc.description.abstract ขลู่เป็นพืชไม้พุ่มที่พบมากตามพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ เมียนมาร์ จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ประเทศไทย และออสเตรเลีย ขลู่เป็นพืชที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบชาขลู่หลังจากที่ถูกย่อยยังไม่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้ ดังนั้น การศึกษานี้จึงต้องการที่จะศึกษาฤทธิ์ดังกล่าวของชาขลู่ทั้งก่อนและหลังการย่อยในหลอดทดลองรวมทั้งเมื่อถูกดูดซึมโดยเซลล์ Caco-2 ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวจะถูกตรวจสอบโดยใช้วิธี DPPH radical scavenging assay นอกจากนี้ยังมีการหาปริมาณฟีนอลรวมและฟลาโวนอยด์รวมด้วยจากการศึกษาพบว่า ชาขลู่ที่ความเข้มข้น 0.1 mg/ml ก่อนที่จะถูกย่อยแสดงฤทธิ์การกําจัดอนุมูล DPPH ถึง 84.77% ค่า IC50 ถูกนํามาพิจารณาเพื่อแสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ดังกล่าว โดยค่า IC50 ของชาขลู่ในสภาวะการย่อยของลําไส้เล็กมีค่าน้อยที่สุดคือ 0.0187±0.008 mg/ml เมื่อเปรียบเทียบกับในสภาวะการย่อยที่ปากและกระเพาะอาหาร จากนั้นทําการศึกษาฤทธิ์ดังกล่าวหลังจากถูกดูดซึมโดยเซลล์ Caco-2 ผลการทดลองพบว่า ชาขลู่น่าจะถูกดูดซึมได้โดยเซลล์เยื่อบุผนังลําไส้จึงส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การกําจัดอนุมูลลดลงทางด้านล่างของ transwell อย่างไรก็ตาม ชาขลู่ยังคงมีฤทธิ์ดังกล่าวแม้ว่าจะน้อยลงกว่าด้านบนของ transwell ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่า ปริมาณฟีนอลและฟลาโวนอยด์รวมของชาขลู่ก่อนการย่อยมีปริมาณที่ค่อนข้างสูง (196.56±0.02 และ 243.75±0.01 mg QE/g extract ตามลําดับ) แต่ปริมาณฟีนอลรวมของชาขลู่หลังการย่อยกลับลดลงประมาณ 7 เท่าส่วนปริมาณฟลาโวนอยด3รวมของชาขลู่ลดลงหลังการย่อยที่ปากและกระเพาะอาหารแต่กลับเพิ่มขึ้นหลังการย่อยที่ลําไส้เล็กเป็น 286.58±0.05 mg QE/g extractหลังการดูดซึมผ่านเซลล์ Caco-2 ชาขลู่สามารถผ่านเซลล์ลงไปยังด้านล่าง (basolateral side) ได้ อย่างไรก็ตาม ปริมาณฟีนอลและฟลาโวนอยด์รวมก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งทางด้านบนและด้านล่างของ transwell โดยสรุป ชาขลู่น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสําหรับการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคได้ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรับบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject น้ำชาขลู่ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระหลังจากถูกย่อยและดูดซึมผ่านเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ของน้ำชาขลู่ th_TH
dc.title.alternative Antioxidative effect after digestion and absorption through intestinaL epitheliaL cells of pluchea indica less tea th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email chatchaw@buu.ac.th th_TH
dc.year 2560
dc.description.abstractalternative Pluchea indica Less. is an evergreen large shrub found abundantly in salt marshes and mangrove swamps in India, Bangladesh, Myanmar, China, the Philippines, Malaysia, Thailand and Australia. P. indica is a plant with anti-inflammatory and antioxidant medicinal properties. However, antioxidant activity of P. indica tea extract (PITE) after in vitro digestion have not ever been studied. This study aimed to investigate antioxidant activity of PITE both pre and post-in vitro digestion including absorption by Caco-2 cells. Such activities were performed using DPPH radical scavenging assay, total phenolic and total flavonoid contents. Pre-digestion of PITE at 0.1 mg/ml showed a strong scavenging activity on DPPH by 84.77%. When IC50 was considered to indicate the potential of this activity, the value in the intestinal digestion had the lowest value with 0.0187±0.008 mg/ml when compared to all phases. DPPH radical scavenging activity of PITE has been studied across Caco-2 cell monolayers. The results showed that PITE might be accessible via the epithelial cells that resulted in the reduction of percent scavenging activity in the basolateral side of transwell. However, P. indica tea was still effective for this activity. In addition, total phenolic and total flavonoid contents of PITE in pre-digestion showed high amount were 196.56±0.02 and 243.75±0.01 mg QE/g extract, respectively. Total phenolic content of PITE in post-digestion decreased nearly seven folds. Total flavonoid content of PITE was attenuated in oral and gastric digestion, but it increased after intestinal digestion (286.58±0.05 mg QE/g extract). Then total phenolic and total flavonoid content of PITE has been studied across Caco-2 monolayers. PITE could pass through the Caco-2 cells to basolateral side. However, total phenolic and total flavonoid contents were significantly decreased in the apical and basolateral sides. In conclusion, P. indica tea may be considered as an alternative healthcare to consumers. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account