Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาลักษณะกระแสน้าบริเวณใกล้เกาะแสมสาร ตามวัฏจักรน้าขึ้นน้าลงและตามฤดูกาล ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นความสำคัญของน้าขึ้นน้ำลง ลมมรสุม และลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อการไหลเวียนกระแสน้าใน 2 บริเวณที่ทาการตรวจวัด คือบริเวณท่าเรือเขาหมาจอ และ เกาะแรดด้านตะวันตก โดยบริเวณท่าเรือเขาหมาจอ พบว่าคลื่นน้าขึ้นน้าลงเป็นคลื่นก้าวหน้า (progressive wave) กระแสน้ามีความเร็วเฉลี่ยประมาณ 8-14 เซนติเมตรต่อวินาที และมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 37 เซนติเมตรต่อวินาที โดยทิศทางหลักของกระแสน้าไหลไปทางตะวันออกในช่วงน้าขึ้นและไหลไปทางตะวันตกในช่วงน้าลงตามลักษณะ ของแนวร่องน้ากระแสน้าสุทธิบริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากลม โดยในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีทิศไหลไป ทางตะวันออกมากกว่าตะวันตก และช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีทิศไหลไปทางตะวันตกมากกว่าตะวันออก ส่วนบริเวณเกาะแรดด้านตะวันตก พบว่าคลื่นน้าขึ้นน้าลงเป็นคลื่นนิ่ง (standing wave) กระแสน้ามีความเร็วเฉลี่ย ประมาณ 10–20 เซนติเมตรต่อวินาที และมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 55 เซนติเมตรต่อวินาที โดยไหลไปทางเหนือประมาณ 1-2 ชั่วโมง ด้วยความเร็วต่ำ (น้อยกว่า 10 เซนติเมตรต่อวินาที) ในช่วงน้าขึ้นและไหลไปทางใต้เป็นเวลานานประมาณ 5-6 ชั่วโมง ด้วยความเร็วสูง (40-50 เซนติเมตรต่อวินาที) ในช่วงน้าลงตามลักษณะของแนวร่องน้าเช่นเดียวกัน กระแสน้าสุทธิบริเวณนี้ ไม่สามารถสรุปตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลได้ เนื่องจากมีข้อมูลเฉพาะช่วงฤดูมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ แต่พบว่ามีทิศไหลไปทางใต้ตลอดช่วงเวลาที่ทาการตรวจวัด