Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของโอลิโกฟรุคโตส (30-50 กรัมต่อ 100 กรัม) และซูโครส (10-20 กรัมต่อ 100 กรัม) ร่วมกับการเติมโซเดียมคลอไรด์ 5 กรัมต่อ 100 กรัม ในการเตรียมสารละลายออสโมติกต่อลักษณะคุณภาพบางประการของกล้วยไข่หลังการออสโมซิส ผลการทดลองพบว่า ความเข้มข้นของโอลิโกฟรุคโตสและซูโครสมีผลต่อค่าถ่ายเทมวลสาร ค่าสี ความแน่นเนื้อ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด และปริมาณน้ำตาลทั้งหมดของกล้วยไข่หลังการออสโมซิส
(p<0.05) การใช้โอลิโกฟรุคโตสและซูโครสในระดับสูงร่วมกัน ทําให้กล้วยไข่มีปริมาณน้ําที่สูญเสีย (ร้อยละ 24.05) และปริมาณของแข็งที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 2.35) สูงที่สุด (p<0.05) โดยกล้วยไขหลังการออสโมซิสมีค่าต่าง ๆ สูงที่สุด ดังนี้คือ ค่าการเปลี่ยนแปลงของสี (∆E) เท่ากับ 11.75 ความแน่นเนื้อ 155.69 กรัม ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด 44 องศาบริกซ์และปริมาณน้ำตาลทั้งหมดร้อยละ 16.24 (p<0.05