Abstract:
ปัจจุบันความต้องการปูนิ่มในตลาดโลกเพิ่มสูงมากอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยซึ่งอยู่ในเขตร้อนมีศํกยภาพสูงในขยายธุรกิจปูนิ่ม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเตรียมพร้อมหาวิธีการที่ง่ายต่อการจำแนกระยะลอกครอบ
กลยุทธ์การเลี้ยง การจัดการด้านการเห็บเกี่ยวสำหรับฟาร์มปูม้านิ่ม (Portunus pelagicus) ในประเทศไทย งานวิจัยนี้จะช้ให้เห็นถึงวิธีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงและลดปัญหาสำหรับผู้ประกอบการผู้ซึ่งสนใจจะดำเนินธุรกิจปูม้านิ่ม
จากการวิจัยพบว่า การตรวจสอบระยะลอกคราบสามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของสีและระดับของช่องว่างระหว่างเปลือกเก่าและเปลือกใหม่บริเวณขอบด้านในของรยางค์คู่ที่ 5 ทั้งปูม้าเพศผู็และเพศเมีย รวมทั้งใช้สัดส่วนของสีที่ปรากฎบริเวณตับปิ้งของปูม้าเพศเมีย และรอยของแนว
เส้นที่เกิดซ้อนขึ้นมาด้านในตับปิ้งของปูม้าเพศผู้ร่วมในการจำแนกดวย คุณภาพปูม้านิ่มที่ยอมรับได้มีเวลาเฉลี่ย 45 นาที ภายหลังจากลอกคราบเสร็จ ค่าความแข็งตัวของเปลือกที่ระดับ 3 (380.8±1.2 g)สอดคล้องกับขบวนการสะสมแร่ธาตุและโครงสร้างของเปลือกปูม้านิ่มที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ระยะเวลาการยอมรับได้ของปูม้านิ่มภายหลังลอกคราบจะยาวนานขึ้นเมื่อปูม้ามีขนาดใหญ่ขึ้นและความเค็มที่ใช้ลดลง การนำปูม้าภายหลังลอกคราบใหม่จุ่มลงในน้ำความเค็ม 5 ส่วนในพัน ที่อุณหภูมิ 155 oC นับว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดต่อการชะลอการสร้างเปลือกให้คงรักษาคุณภาพปูม้านิ่มที่ยอมรับได้นาน
3ชั่วโมง 30นาที หากทำการพิจารณาจากระยะเวลาที่คืนทุน กำไรสุทธิภายใต้การเช่าฟาร์ม และการรอดตาย 70%ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนเริ่มแรกและต้นทุนผันแปรของการเลี้ยงในบ่อซิเมนต์สูงกว่าการเลี้ยงในบ่อดินประมาณ40%และ 100% ตามลำดับ ซึ่งปูม้าขนาดเล็ก(45กรัม) นับเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการผลิตปูม้านิ่ม เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่าและการลงทุนต่ำกว่าปูม้าขนาดใหญ่ ธุรกิจปูม้านิ่มจะยั่งยืนได้ควรมีการรอดตายของปูสูงกว่า 50%