dc.contributor.author |
นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร |
|
dc.contributor.author |
พิขญานันท์ รักษา |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:14:51Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:14:51Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2423 |
|
dc.description.abstract |
ทำการศึกษาผลของความเค็มต่อการเปลี่ยนแปลงค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดกั้งตั๊กแตน (Miyakea nepa) แบบเฉียบพลันที่เวลา
0, 0.5, 1, 3, 6 และ 12 ชั่วโมง และแบบค่อยๆ เปลี่ยนแปลงความเค็มที่เวลา 24 และ 48 ชั่วโมง โดยเจาะเลือดกั้งตั๊กแตนแล้วนำไปวัดค่า
ออสโมลาลิตี้ด้วยเครื่องวัดความเข้มข้นของสารละลาย (Vapor Pressure Osmometer 5520) ที่ความเค็ม 4 ระดับ คือ 30, 25, 20 และ
15 psu ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส สำหรับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเค็มแบบเฉียบพลันพบว่า ค่าออสโมลาลิตี้ของเลือด
เปลี่ยนแปลงตามความเค็มที่ลดลง ที่ระดับความเค็ม 30, 25 และ 20 psu ที่เวลา 12 ชั่วโมง มีค่าออสโมลาลิตี้เท่ากับ 982±11,
793±7 และ 686±15 mOsmol/kg ตามลำดับ ส่วนที่ระดับความเค็ม 15 psu พบว่ากั้งตั๊กแตนตายทั้งหมดหลังจากเวลาที่ 1 ชั่วโมง
และมีค่าออสโมลาลิตี้ที่เวลา 1 ชั่วโมง เท่ากับ 665±15 mOsmol/kg ส่วนการเปลี่ยนแปลงความเค็มแบบค่อยๆ เปลี่ยนแปลงพบว่า
ค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดเปลี่ยนแปลงตามความเค็มที่ลดลง ที่ระดับความเค็ม 30, 25, 20 และ 15 psu ที่เวลา 24 ชั่วโมง มีค่า
ออสโมลาลิตี้เท่ากับ 993±11, 824±6, 687±5 และ 542±7 mOsmol/kg ตามลำดับ และที่เวลา 48 ชั่วโมง มีค่าออสโมลาลิตี้เท่ากับ
985±7, 830±8, 686±4 และ 545±6 mOsmol/kg ตามลำดับ จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงความเค็ม
แบบเฉียบพลันนั้น ความเค็มที่กั้งตั๊กแตนสามารถทนอยู่ได้นั้นไม่ควรต่ำกว่า 20 psu ส่วนที่ความเค็ม 15 psu นั้น กั้งตั๊กแตนสามารถ
ทนอยู่ได้แต่จะต้องค่อยๆ ลดระดับความเค็มลง กั้งตั๊กแตนจึงสามารถปรับตัวอยู่ได้ เมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของเลือดกั้งตั๊กแตนกับ
น้ำที่อาศัยอยู่ พบว่ากั้งตั๊กแตนมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มแบบ osmoconformer และมีความทนทาน
ต่อความเค็มอยู่ในช่วงกว้าง (euryhaline) คืออยู่ในช่วง 15-30 psu |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.subject |
กั้ง - - การปรับตัว |
th_TH |
dc.subject |
กั้งตั๊กแตน |
th_TH |
dc.subject |
ความเค็ม |
th_TH |
dc.subject |
ออสโมลาลิตี้ |
th_TH |
dc.title |
ผลของความเค็มต่อค่าออสโมลาลิตี้ของเลือดกั้งตั๊กแตน, Miyakea nepa (Latreille,1828) |
th_TH |
dc.title.alternative |
Effect of salinity on blood osmolality of Mantis shrimp, Miyakea nepa (Latreille, 1828) |
en |
dc.type |
บทความวารสาร |
th_TH |
dc.issue |
1 |
|
dc.volume |
17 |
|
dc.year |
2555 |
|
dc.description.abstractalternative |
The effect of decreased salinity on blood osmolality was investigated in the mantis shrimp (Miyakea nepa).
Blood samples were measured using a Vapor pressure osmometer 5520 at salinities of 30, 25, 20 and 15 psu at a
temperature of 25 °C. Blood osmolality changed with salinity in mantis shrimps that were reared in seawater where
the salinity was changed abruptly. It was found that blood osmolality at 12 hr. was 982±11, 793±7 and 686±15
mOsmol/kg at salinities 30, 25 and 20 psu respectively. All mantis shrimp died after one hour at 15 psu salinity and
blood osmolality at one hour was 665±15 mOsmol/kg. Blood osmolality at 24 and 48 hr. was measured in mantis
shrimp that were reared in seawater that the salinity was gradually changed. It was found that blood osmolality
decreased with salinity after 24 hr., blood osmolality was measured at 993±11, 824±6, 687±5 and 542±7 mOsmol/
kg at salinities 30, 25, 20 and 15 psu respectively. At 48 hr. blood osmolality was 985±7, 830±8, 686±4 and 545±6
mOsmol/kg respectively. In conclusion, mantis shrimp can survive in seawater at salinity more than 20 psu. if the
salinity was changed abruptly. At salinity of 15 psu, mantis shrimp can also survive but the salinity of water has to
be changed gradually. The mantis shrimp Miyakea nepa shows characteristics of an osmoconformer and can be
categorized as a euryhaline animal as being able to live in a salinity range between 15-30 psu. |
en |
dc.journal |
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา = Burapha science journal |
|
dc.page |
50-58. |
|