dc.contributor.author |
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ |
|
dc.contributor.author |
วีระพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:09:52Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:09:52Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1849 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบยั่งยืนเพื่อการค้าและการอนุรักษ์ ในปีที่ 2 ได้ทำการศึกษาถึงชนิดและความเข้มข้นของสารไครโอโพรเทคแทนท์ 4 ชนิด คือ Glycerol, DMSO, Propylene glycol และ Sucrose ที่ 5 ระดับความเข้มข้นคือ 3%, 6%, 9%, 12% และ 15% ในน้ำยา Extender 7 และอัตราการลดอุณหภูมิที่เหมาะสมในการแช่น้ำเชื้อปลาสวายด้วยเครื่องมือลดอุณหภูมิ (Controlled-rate programmable freezer) ด้วยการลดอุณหภูมิแบบ Two-step freezing จากอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ไปจนถึง 0 องศาเซลเซียสและจาก 0 องศาเซลเซียส ไปจนถึงอุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส โดยใช้อัตราการลดอุณหภูมิ 3 ระดับ ได้แก่ -3ม -5 และ -10 องศาเซลเซียสต่อนาที ผลการศึกษาพบว่า การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาสวายด้วยการใช้สารละลาย Extender 7 เป็นน้ำยาบัฟเฟอร์และสารละลาย DMSO ความเข้มข้นสุดท้ายเท่ากับ 9% เป็นสารไครโอโพรเทคแทนท์ และอัตราการลดอุณหภูมิเท่ากับ -3 องศาเซลเซียสต่อนาที มีความเหมาะสมในการรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบแช่แข็ง ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมในการละลายน้ำเชื้อเท่ากับ 40 องศาเซลเซียส ส่วนการศึกษาถึงการพัฒนาการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบแช่แข็งด้วยเทคนิคอย่างง่ายในกล่องโฟม ผลการศึกษาพบว่าการใช้น้ำยา Extender 7 และ 10% DMSO ในการแช่น้ำเชื้อร่วมกับการลดอุณหภูมิที่ระดับความสูง 6 เซนติเมตร เหนือผิวหน้าไนโตรเจนเหลว เป็นระยะเวลา 15 นาที มีประสิทธิภาพในการแช่แข็งน้ำเชื้อปลาสวายเมื่อประเมินจากอัตราการเคลื่อนที่ของสเปิร์มและอัตราการมีชีวิตของสเปิร์ม โดยสามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายในไนโตรเจนเหลวได้นาน 4 เดือน |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
น้ำเชื้อ |
th_TH |
dc.subject |
ปลาสวาย |
th_TH |
dc.subject |
เทคโนโลยีการเก็บรักษา |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแบบยั่งยืนเพื่อการค้าและการอนุรักษ์ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Sustainable development of storage technology of striped catfish (Pangasianodon hypophthalmus) Milt for commercial and conservation |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2558 |
|
dc.description.abstractalternative |
Research entitled "Sustainable development of storage technology of striped catfish (Pangasianodon hypophthalmus) milt for commercial and conservation)" in the second year was designed to evaluate the effects of type and concentration of four cryoprotectants (glycerol, dimethylsulfoxide; DESO, propylene glycol and sucrose) at five concentration levels (3,6,9,12 and 15%) on cryopreservation of striped catfish (Pangasianodon hypophthalmus) milt. Freezing of milt was performed in the controlled-rate programmable freezer with two-step freezing protocol from 25 C to 0 C and 0 C to 40 C using various freezing rates at -3, -5 and -10 C/min. Appropriate cryopreservation protocol was obtained from a treatment using extender 7 and 9% DMSO under a freezing rate -3C/min with optimal thawing temperature of 40 C. Development of cryopreservation protocol of P. hypophthalmus milt was also performed by simple freezing in a Styrofoam box. Freezing of milt at the height of 6 cm above liquid nitrogen surface for 15 min was an effective protocol based on evaluation of sperm motility and sperm viability. Cryopreserved milt was successfully stored in liquid nitrogen for 4 months. |
en |