DSpace Repository

เครื่องสังฆภัณฑ์: กรณีศึกษาวัดในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ธนภัทร ศิริจารุกุล
dc.contributor.author รสา สุนทรายุทธ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:08:38Z
dc.date.available 2019-03-25T09:08:38Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1747
dc.description.abstract การศึกษาเครื่องสังฆภัณฑ์ ได้แก่ ธรรมาสน์ ตู้พระไตรปิฎกหรือตู้พระธรรม และโต๊ะหมู่บูชา ใน ๑๐ วัดของตำบลต่าง ๆ ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี พบว่า มีธรรมาสน์บุษกร (ทรงสูง) ที่ปัจจุบันยังคงใช้อยู่ ๔ วัด คือ วัดโบสถ์ วัดอุทกเขปสีมาราม วัดเนินตามาก และวัดกุฏโง้ง รูปแบบของธรรมาสน์มีทั้งที่เป็นฐานทึบและฐานโปร่งมีสี่เสา ธรรมาสน์ที่เก่ามากที่สุดคือธรรมาสน์ของวัดโบสถ์มีอายุประมาณ ๑๒๑ ปี แม่บันใดธรรมาสน์มี ๒ แบบ คือ แม่บันไดรูปสามเหลี่ยม และ แม่บันไดรูปนาค สำหรับธรรมาสน์แบบตั่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทั้ง ๑๐ วัดเป็นของใหม่ทั้งหมด ธรรมาสน์ทั้งหมดยังคงรักษารูปแบบเดิมในสมัยเก่าไว้ได้ การศึกษาเรื่อง ตู้พระไตรปิฎกหรือตู้พระธรรม ที่เป็นตู้พระธรรมแบบเก่าลงรักษ์ปิดทอง แต่ไม่ได้นำใช้ในปัจจุบันมีแห่งเดียวอยู่ที่วัดเนินตามาก ตู้พระธรรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นของใหม่ทั้ง ๑๐ วัด รูปแบบของตู้พระธรรมเป็นรูปแบบเฉพาะตัวที่มองดูแล้วทราบว่าใช้กันเฉพาะในวัดเท่านั้น ส่วนโต๊ะหมู่บูชารูปแบบเหมือนกันโดยทั่วไปสามารถใช้ได้ทั้งในวัดและตามบ้านเรือนของประชาชน ทั้งนี้เพราะโต๊ะหมู่บูชาเป็นของใหม่ทั้งหมด โต๊ะหมู่บูชาหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์โดยเฉพาะทั้ง ๑๐ วัด ในตำบลต่างๆ ของอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ความมากหลายของเชื้อชาติ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนในการออกแบบเครื่องสังฆภัณฑ์ในพื้นที่ที่ศึกษาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น การประดับธงกระดาษสีที่วัดโบสถ์ หรือ การประดับผ้าม่านและลูกปัดเป็นสายห้อยระย้าที่วัดอุทกเขปสีมาราม เป็นต้น ในทางพุทธศาสนาการออกแบบเครื่องสังฆภัณฑ์ควรจะมีความเรียบง่ายมากที่สุด รองรับเพียงความต้องการพื้นฐานเท่านั้น งานออกแบบเครื่องสังฆภัณฑ์ที่สวยงามนั้น มาจากุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยออกแบบมาให้สวยงามสอดคล้องกับความเชื่อในแต่ละคนและแต่ละวัฒนธรรม สิ่งที่สำคัญในการออกแบบขนานใหญ่สำหรับเครื่องสังฆภัณฑ์สมัยใหม่คือ การสร้างรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับการใช้งานปัจจุบันมากที่สุดโดยยังคงมีบางส่วนที่แสดงให้เห็นว่าเหมาะสำหรับใช้กันเฉพาะในวัด และโดยที่ไม่ขัดกับข้อกำหนดทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เครื่องสังฆภัณฑ์ th_TH
dc.subject สาขาปรัชญา th_TH
dc.title เครื่องสังฆภัณฑ์: กรณีศึกษาวัดในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative The basic utensils and furniture in Buddhism culture: A study of the temple from the district of Panusnikom, Chonburi en
dc.type Research
dc.year 2549
dc.description.abstractalternative A study of basic utensils and furniture in Buddhism culture including thore, scripture cabinet , and set of altar table in 10 temples from the district of Panusnikhom, Chonburi found that there are tall thrones which is still be used in these present days. There are 4 temples that use this type of tall throne which are Watbosth, WatUtokkhepasrimaram, Wat nein ta nak, and Watkutngong. This type of throne has a solid base and airy base with 4 pillars. The oldest throne is from Watbosth which is age around 121 years old. There are two types of the throne staircase which are a square staircase and a Naga staircase. Currently, a stool throne of the 10 temples are all new. For the scripture cabinet, there are only one old ancient scripture cabinet that gilded with gold in Wat nein ta mak but it hasn’t been uses for a very long time. A scripture cabinet nowadays from the 10 tembles are all new. Set of altar tables are all the same in every single temble which can be used in households and in temples. The set of altar tables are also new that are sold in a mass production industry. The different local ethic cultures in Panusnikom are only slightly involved in the design. In Buddism, the design of these furnitures for Buddhist monks should be very simple and only serve the simplest need in term or their funchion. The decoration details are designed by Buddhists who really admire the religion and also harmonize the style of the products to what they really believe in and their culture. The important concern in designing furnitures for BuDDhist monks is to create a design that is appropriate for most current applications and without violating the terms of Buddhism as well. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account