Abstract:
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อค้นหาการรับรู้ของกลุ่มวัยรุ่นต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในสังคม โดยศึกษากลุ่มวัยรุ่นนสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งเพื่อตอบคำถามการวิจัย 3 ประเด็น คือ กลุ่มวัยรุ่นให้การยอมรับพฤติกรรมการดื่มสุราในสังคมอย่างไร กลุ่มวัยรุ่นรับรู้ถึงผลกระทบจากการดื่มสุราต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร และปัจจัยอะรบ้างที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอื่มสุรา
วิธีการดำเนินการวิจัย และรวบรวมข้อมูลใช้การจัดสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) โดยคัดเลือกกลุ่มวัยรุ่นชายและหญิงกลุ่มละ 9-12 ได้จำนวนกลุ่มวัยรุ่น 2 กลุ่ม กลุ่มวัยรุ่นชาย 2 กลุ่ม กำหนดให้ผู้ร่วมสนทนาในแต่ละกลุ่มเป็นเพศเดียวกัน ศึกษาในต่างสาขาวิชาและต่างชั้นปี
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มวัยรุ่นให้การยอมรับชายที่ดื่มสุรามากกว่าหญิงที่ดื่มสุราและยอมรับพฤติกรรมการดื่มสุราตามเหตุผล การดื่มสุราโดยทั่วไปในสังคม ได้แก่ งานเลี้ยงฉลอง การดื่มเพื่อคลายความเหงาและคลายความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ การดื่มเพื่อสุขภาพทั้งการดื่ม เพราะทำตามแบบอย่าง และความอยากรู้อยากลองของกลุ่มวัยรุ่น แต่ละกลุ่มวัยรุ่นไม่ยอมรับพฤติกรรมการดื่มสุรา หากผู้ดื่มสุราอื่มสุราในปริมณมากจนเกิดการเมาสุราสร้างความเดือดร้อนให้ตนและผู้อื่น อย่างไรก็ตามกลุ่มวัยรุ่นตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มสุราเกินขนาด กล่าวคือ ชายที่ดื่มสุราทำให้บกพร่องในหน้าที่ความรับผิดชอบเกิดการทะเลาะวิวาท หญิงที่ดื่มสุราทำให้เสียภาพพจน์หญิงไทย และเพลี่ยงพล้ำทางเพศ ส่วนผลกระทบต่อสัมพันธภาพชายหญิงก่อนแต่งงานและสัมพันธภาพในครอบครัวคือทำให้เกิดการบกพร่องต่อหน้าที่รับผิดชอบ และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ดื่ม สุราที่ทำให้ขาดสมรรถภาพในการทำงาน การติดสุราเรื้องรัง และการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เอช ไอ วี ประเด็นสุดท้ายกลุ่มวัยรุ่นระบุปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมการดื่มสุราในสังคมเพิ่มขึ้น คือ การดื่มตามเหตุผลที่กล่าวข้างต้นของกลุ่มประชากรวัยต่าง ๆ และสภาพสังคมทั่วไปที่มีประเพณีการดื่มมากขึ้น ผู้ใหญ่ไม่เคร่งครัดต่อการดื่มสุราของกลุ่มวัยรุ่น การโฆษณาสุรา สถานที่จำหน่ายและดื่มสุรามีมากขึ้น นอกจากนี้กฎหมายไทยยังไม่เคร่งครัดต่อผู้กระทำผิดอันเนื่องมาจากการเมาสุรา ผู้วิจัยเห็นว่า เป็นการยากที่จะรณรงค์ ให้กลุ่มวัยรุ่นเลิกดื่มสุรา โดยเด็ดขาด เนื่องจากการวิจัยนี้ พบว่า กลุ่มวัยรุ่นให้การยอมรับพฤติกรรมการอื่มสุราที่มีเหตุผลเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นคือ ดื่มตามการชักชวนของเพื่อน ความอยากรู้อยากลอง และการเลียนแบบจากการเห็นพฤติกรรมการดื่มสุราในสังคม จึงขอเสนอให้มีการวิจัยกว้างออกไปโดยศึกษาแบบแผนการใช้สุราและค้นหาปัจจัยสนับสนุน เพื่อหากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการป้องกันให้พฤติกรรมการดื่มสุราอยู่ในขอบเขตที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบ