DSpace Repository

การรับรู้ของกลุ่มวัยรุ่นต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในสังคม

Show simple item record

dc.contributor.author กุณฑลี จริยาปยุกต์เลิศ
dc.contributor.author สายใจ พัวพันธ์
dc.date.accessioned 2024-06-07T07:54:07Z
dc.date.available 2024-06-07T07:54:07Z
dc.date.issued 2538
dc.identifier.issn 974-573-026-2
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17259
dc.description.abstract การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อค้นหาการรับรู้ของกลุ่มวัยรุ่นต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในสังคม โดยศึกษากลุ่มวัยรุ่นนสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งเพื่อตอบคำถามการวิจัย 3 ประเด็น คือ กลุ่มวัยรุ่นให้การยอมรับพฤติกรรมการดื่มสุราในสังคมอย่างไร กลุ่มวัยรุ่นรับรู้ถึงผลกระทบจากการดื่มสุราต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร และปัจจัยอะรบ้างที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอื่มสุรา วิธีการดำเนินการวิจัย และรวบรวมข้อมูลใช้การจัดสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) โดยคัดเลือกกลุ่มวัยรุ่นชายและหญิงกลุ่มละ 9-12 ได้จำนวนกลุ่มวัยรุ่น 2 กลุ่ม กลุ่มวัยรุ่นชาย 2 กลุ่ม กำหนดให้ผู้ร่วมสนทนาในแต่ละกลุ่มเป็นเพศเดียวกัน ศึกษาในต่างสาขาวิชาและต่างชั้นปี ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มวัยรุ่นให้การยอมรับชายที่ดื่มสุรามากกว่าหญิงที่ดื่มสุราและยอมรับพฤติกรรมการดื่มสุราตามเหตุผล การดื่มสุราโดยทั่วไปในสังคม ได้แก่ งานเลี้ยงฉลอง การดื่มเพื่อคลายความเหงาและคลายความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ การดื่มเพื่อสุขภาพทั้งการดื่ม เพราะทำตามแบบอย่าง และความอยากรู้อยากลองของกลุ่มวัยรุ่น แต่ละกลุ่มวัยรุ่นไม่ยอมรับพฤติกรรมการดื่มสุรา หากผู้ดื่มสุราอื่มสุราในปริมณมากจนเกิดการเมาสุราสร้างความเดือดร้อนให้ตนและผู้อื่น อย่างไรก็ตามกลุ่มวัยรุ่นตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มสุราเกินขนาด กล่าวคือ ชายที่ดื่มสุราทำให้บกพร่องในหน้าที่ความรับผิดชอบเกิดการทะเลาะวิวาท หญิงที่ดื่มสุราทำให้เสียภาพพจน์หญิงไทย และเพลี่ยงพล้ำทางเพศ ส่วนผลกระทบต่อสัมพันธภาพชายหญิงก่อนแต่งงานและสัมพันธภาพในครอบครัวคือทำให้เกิดการบกพร่องต่อหน้าที่รับผิดชอบ และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ดื่ม สุราที่ทำให้ขาดสมรรถภาพในการทำงาน การติดสุราเรื้องรัง และการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เอช ไอ วี ประเด็นสุดท้ายกลุ่มวัยรุ่นระบุปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมการดื่มสุราในสังคมเพิ่มขึ้น คือ การดื่มตามเหตุผลที่กล่าวข้างต้นของกลุ่มประชากรวัยต่าง ๆ และสภาพสังคมทั่วไปที่มีประเพณีการดื่มมากขึ้น ผู้ใหญ่ไม่เคร่งครัดต่อการดื่มสุราของกลุ่มวัยรุ่น การโฆษณาสุรา สถานที่จำหน่ายและดื่มสุรามีมากขึ้น นอกจากนี้กฎหมายไทยยังไม่เคร่งครัดต่อผู้กระทำผิดอันเนื่องมาจากการเมาสุรา ผู้วิจัยเห็นว่า เป็นการยากที่จะรณรงค์ ให้กลุ่มวัยรุ่นเลิกดื่มสุรา โดยเด็ดขาด เนื่องจากการวิจัยนี้ พบว่า กลุ่มวัยรุ่นให้การยอมรับพฤติกรรมการอื่มสุราที่มีเหตุผลเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นคือ ดื่มตามการชักชวนของเพื่อน ความอยากรู้อยากลอง และการเลียนแบบจากการเห็นพฤติกรรมการดื่มสุราในสังคม จึงขอเสนอให้มีการวิจัยกว้างออกไปโดยศึกษาแบบแผนการใช้สุราและค้นหาปัจจัยสนับสนุน เพื่อหากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการป้องกันให้พฤติกรรมการดื่มสุราอยู่ในขอบเขตที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบ th
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject วัยรุ่น -- พฤติกรรม. th_TH
dc.subject สุรา. th_TH
dc.subject Humanities and Social Sciences. th_TH
dc.title การรับรู้ของกลุ่มวัยรุ่นต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในสังคม th_TH
dc.title.alternative Adolescents' perceptions to drinking behavior in society th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2538 th_TH
dc.description.abstractalternative This study aims to explore the perceptions of adolescent group to drinking behavior in Thai society, by searching to answer in three research questions: how far do they accept the drinking behavior, what consequences, to themselves and to others, do they perceive in drinking alcohol, and what factors are influential to changing their drinking behaviors. Researchers conducted the study in a higher education institute, among both male and female students. Focus Group Discussion (FGD) was applied for data collection technique among 2 male and 2 female groups of students. Each group of students was comprised of 9-12 students in the same sex, different study programmers and different batches. The results revealed that adolescence accepted drinking men more than drinking women. The drinking behavior would be accepted as following reasons: cerebration, drinking for releasing tension and loneliness, drinking for health and for imitation, wanting to try. They, however, did not accept the drinking behavior in amount which caused trouble to oneself and others. They realized the consequences of too much drinking as follows. Drinking men would lack of their responsibilities and make trouble. Drinking women would make less-image of Thai ladies and be prone to be in sexual control. Regarding the effect to pre-marital male-female relationship and family relationship, it would cause lack of responsibilities, health deteriorated and loss of capacity, chronic alcoholic behavior and being risk to HIV infection. Lastly, they defined the influential factors to increasing of drinking behaviors in society, as the above-mentioned reasons of drinking, general social conditions availing of drinking traditions, non-restriction of adults to adolescence’s drinking, whisky ads, availability of whisky and drinking shops. Aside from that, the law regarding the wrong-doing due to drunken would not be serious. As result, it would be difficult to campaign for definite non-drinking because most of reasons for drinking among adolescents were being-convinced, wanting to try, and imitation. Researchers suggested that the further study should focus on pattern of alcohol utilization and identification of contributing factors in larger scale to use in formulating the appropriate intervention in drinking behavior preventing non-negative consequeces. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account