DSpace Repository

การคัดเลือกและการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ร่วมกับน้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาโรครากเน่าของพืชที่ปลูกในระบบไอโดรโพนิกส์

Show simple item record

dc.contributor.author อนุเทพ ภาสุระ
dc.contributor.author เยาวลักษณ์ ไชยรัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:07:12Z
dc.date.available 2019-03-25T09:07:12Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1565
dc.description.abstract ปัญหาโรครากเน่าในพืชที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเชื้อก่อโรคสามารถแพร่ระบาดไปได้ในระบบปลูกอย่างรวดเร็ว การศึกษานี้ได้ทำการแยกเชื้อราก่อโรครากเน่าจากรากสลัดที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์สามารถแยกได้จำนวน 11 ไฮโซเลตและทุกไอโซเลตสามารถทำให้ผักสลัดกรีนโอ๊ดเกิดโรคได้โดยเชื้อราก่อโรคไอโซเลต GS-4 มีความสามารถก่อให้เกิดโรคมากที่สุด เมื่อจำแนกเบื้องต้นโดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยา สามารถจำแนกได้เป็นเชื้อรา Pythium sp. จากการศึกษาหาปริมาณเริ่มต้นเชื้อราก่อโรครากเน่า Pythium sp. ไอโซเลต GS-4 ที่ก่อให้เกิดโรครากเน่าในผักสลัดกรีนโอ๊ต พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 10 4 propagule/ มิลลิเมตรขึ้นไป สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเจริญของพืชในด้านของน้ำหนักสดของ ส่วนต้น ส่วนความเสียหายต่อระบบรากพืชพบว่าปริมาณของเชื้อเริ่มต้นที่ 10 3 propagule/ มิลลิเมตรเป็นระดับเริมต้นที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของรากผักสลัดกรีนโอ๊ด การศึกษานี้สรุปได้ว่าระดับความเข้มข้นของเชื้อราก่อโรคมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น การจัดการโรครากเน่าจึงควรมุ่งเน้นที่การควบคุมไม่ให้เชื้อราก่อโรคอยู่ในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชที่ปลูก ส่วนการนำการควบคุมทางชีวภาพโดยใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต GE-1 ที่แยกได้จากส่วนด้านในของรากผักกาด พบว่า มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ เส้นใยเชื้อราก่อโรค Pythium sp. ไอโซเลต GS-4 มากที่สุดโดยสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราก่อโรคบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ได้สูงสุดถึงร้อยละ 47.5 และมีความเป็นไปได้ในการ ใช้น้ำหมักชีวภาพจากพืชในอัตราส่วน 1:3000 ในสารละลายธาตุอาหาร Hoagland’s solution (half strength) ทั้งในด้านส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและการทดสอบการเกิดโรครากเน่า พบว่า น้ำหมักชีวภาพจากพืชไม่มีผลเสียต่อการเจริญของผักสลัดกรีนโอ๊ด และน่าจะมีความเป็นไปได้ ในการนำเอาแบคทีเรียปฏิปักษ์มาใช้ในระบบการปลูกผักสลัดกรีนโอ๊ดที่ใช้น้ำหมักชีวภาพจากพืช มาร่วมด้วย แบทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต GE-1 สามารถลดการเกิดโรคและระดับความรุนแรงของโรครากเน้าได้ แต่ในด้านการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ดยังไม่ชัดเจน ดังนั้น การใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรครากเน่าของผักสลัดกรีนโอ๊ดจึงอาจจะเป็นทางเลือกในการลดการใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2554 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject จุลินทรีย์ th_TH
dc.subject น้ำสกัดชีวภาพ th_TH
dc.subject ภูมิปัญญาท้องถิ่น th_TH
dc.subject ระบบไฮโดรโพนิกส์ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การคัดเลือกและการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ร่วมกับน้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาโรครากเน่าของพืชที่ปลูกในระบบไอโดรโพนิกส์ th_TH
dc.type งานวิจัย
dc.year 2555


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account