Abstract:
ปัญหาโรครากเน่าในพืชที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเชื้อก่อโรคสามารถแพร่ระบาดไปได้ในระบบปลูกอย่างรวดเร็ว การศึกษานี้ได้ทำการแยกเชื้อราก่อโรครากเน่าจากรากสลัดที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์สามารถแยกได้จำนวน 11 ไฮโซเลตและทุกไอโซเลตสามารถทำให้ผักสลัดกรีนโอ๊ดเกิดโรคได้โดยเชื้อราก่อโรคไอโซเลต GS-4 มีความสามารถก่อให้เกิดโรคมากที่สุด เมื่อจำแนกเบื้องต้นโดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยา สามารถจำแนกได้เป็นเชื้อรา Pythium sp. จากการศึกษาหาปริมาณเริ่มต้นเชื้อราก่อโรครากเน่า Pythium sp. ไอโซเลต GS-4 ที่ก่อให้เกิดโรครากเน่าในผักสลัดกรีนโอ๊ต พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 10 4 propagule/ มิลลิเมตรขึ้นไป สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเจริญของพืชในด้านของน้ำหนักสดของ
ส่วนต้น ส่วนความเสียหายต่อระบบรากพืชพบว่าปริมาณของเชื้อเริ่มต้นที่ 10 3 propagule/ มิลลิเมตรเป็นระดับเริมต้นที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของรากผักสลัดกรีนโอ๊ด การศึกษานี้สรุปได้ว่าระดับความเข้มข้นของเชื้อราก่อโรคมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น
การจัดการโรครากเน่าจึงควรมุ่งเน้นที่การควบคุมไม่ให้เชื้อราก่อโรคอยู่ในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชที่ปลูก ส่วนการนำการควบคุมทางชีวภาพโดยใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต
GE-1 ที่แยกได้จากส่วนด้านในของรากผักกาด พบว่า มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ
เส้นใยเชื้อราก่อโรค Pythium sp. ไอโซเลต GS-4 มากที่สุดโดยสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราก่อโรคบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ได้สูงสุดถึงร้อยละ 47.5 และมีความเป็นไปได้ในการ
ใช้น้ำหมักชีวภาพจากพืชในอัตราส่วน 1:3000 ในสารละลายธาตุอาหาร Hoagland’s solution (half strength) ทั้งในด้านส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและการทดสอบการเกิดโรครากเน่า พบว่า
น้ำหมักชีวภาพจากพืชไม่มีผลเสียต่อการเจริญของผักสลัดกรีนโอ๊ด
และน่าจะมีความเป็นไปได้
ในการนำเอาแบคทีเรียปฏิปักษ์มาใช้ในระบบการปลูกผักสลัดกรีนโอ๊ดที่ใช้น้ำหมักชีวภาพจากพืช
มาร่วมด้วย แบทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต GE-1 สามารถลดการเกิดโรคและระดับความรุนแรงของโรครากเน้าได้ แต่ในด้านการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ดยังไม่ชัดเจน ดังนั้น การใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรครากเน่าของผักสลัดกรีนโอ๊ดจึงอาจจะเป็นทางเลือกในการลดการใช้
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์