dc.contributor.author |
กล่าวขวัญ ศรีสุข |
th |
dc.contributor.author |
เอกรัฐ ศรีสุข |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:04:30Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:04:30Z |
|
dc.date.issued |
2556 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1373 |
|
dc.description.abstract |
สำมะง่าเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ในทางการแพทย์พื้นบ้าน เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบต่าง ๆ ในการศึกษานี้ทำการตรวจสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารประกอบที่แยกได้จากส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเดตจากใบสำมะง่าในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพลิแซกคาร์ไรด์ (LPS) สาร p-anisic acid, acacetin, hispidulin และ diosmentin ซึ่งได้จากการแยกและทำให้บริสุทธิ์ โดยวิธีซิลิกาเจลโครมาโทกราฟีแบบคอลัมน์ และพิสูจน์โครงสร้างด้วยการวิเคราะห์ทางสเปกโตรสโครปีและเปรียบเทียบข้อมูลกับสเปกตรัมของ NMR ของรายงานก่อนหน้านี้ สารประกอบ acacetin, hispidulin และ diosmentin สามารถยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ได้ดีกว่า p-anisic และ aminoguanidine (สารยับยั้ง iNOS) สาร hispidulin ถูกเลือกไปศึกษาต่อเพื่อตรวจสอบกลไกการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบของมัน สาร hispidulin ยังสามารถลดการผลิตพรอสตาแกลนดิน E2 ในเซลล์ RAW 264.7 ที่สัมผัสกับ LPS ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น hispidulin ถูกพบว่ายับยั้งการแสดงออกของ mRNA และโปรตีน inducible nitric oxide synthase (iNOS) และ cyclooxygenase (COX-2) ในลักษณะนี้ขึ้นกับความเข้มข้น ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่า acacetin, hispidulin และ diosmentin ที่แยกได้จากใบสำมะง่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ กลไกในการต้านอักเสบของ hispidulin เกิดผ่านการยับยั้งการแสดงออกของ iNOS และ COX-2 ที่ระดับการถอดรหัสและการแปลรหัส ของยีน นอกจากนี้รายงานนี้ยังเป็รายงานครั้งแรกของการแยกสาร hispidulin และ diosmentin ได้จากใบสำมะง่า ผลการศึกษาครั้งนี้อาจช่วยสนบัสนุนประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของใบสำมะง่า |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับเงินอุดหนุนทุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) งบประมาณปี 2554 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การรักษาด้วยสมุนไพร |
th_TH |
dc.subject |
การอักเสบ |
th_TH |
dc.subject |
สมุนไพร |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
th_TH |
dc.title |
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรป่าชายเลนลุ่มแม่น้ำเวฬุ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Investigation of anti-inflammatory activity of medicinal plants from Welu wetland |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2556 |
|
dc.description.abstractalternative |
Clerodendrum inerme (L.) Gaertner is medicinal plant which has been used in traditional medicine for treating various inflammation-related diseases. In this study, anti-inflammatory effects of compounds isolated from ethylacetate fraction of C. inerme leaves were determined on the production of nitric oxide (NO) in lipopolysaccharide (LPS) -induced RAW 264.7 macrophage cells. P-Anisic acid, acacetin, hispidulin and diosmentin were isolated by gel column chromatography. Their stuctures were elucidated on the basis of extensive spectroscopic analysis and by comparison of their NMR spectroscopic data with those reported in the literature. Acacetin, hispidulin and diosmentin inhibited NO production without cytotoxicity toward macrophages. They showed stronger inhibitory effect on NO production than p-anisic acid and aminoguanidine (a well-known iNOS inhibitor). Among them, hispidulin was selected to investigate the mechanism underlying its anti-inflammatory activity. The compound also inhibited the production of prostaglanglandin E2 in RAW264.7 cells treated with LPS in dose-dependent manner. Hispidulin was found to suppress inducible nitric oxide synthase (iNOS) and cyclooxygenase-2 (COX-2) mRNA and protein expressions in dose-dependent manners. The obtained results suggest that acacetin, hispidulin and diosmentin isolated from C.inerme leaves exert anti-inflammatory activity. The mechanism of anti-inflammation of hispidulin was the inhibition of iNOS and COX-2 expression at transcriptional and translational level. Additionally, this is the first report of the isolation of hispidulin and diosmentin from C.inerme leaves. The present study might support the effectiveness of traditional use of C.inerme leaves for treatment of inflammatory diseases. |
en |